Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1809
Title: การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ในโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Other Titles: The study of guidelines for learning management of the STEM Education in the Network Schools for Teacher Training Program, Faculty of Education, Dhonburi Rajabhat University
Authors: อริสรา, จุลกิจวัฒน์
Junlakitjawat, Arisara
Keywords: สะเต็มศึกษา
วิชาชีพครู
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ในโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ใน 3 รูปแบบ คือ การบูรณาการเนื้อหา การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และการบูรณาการเป้าหมายของการเรียนรู้ โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาตามแนวคิดของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (2557) ที่มุ่งเน้นการบูรณา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) โดยใช้โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of analysis) การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร ตำรา ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ใช้แบบสอบถามกับผู้ให้ข้อมูลจากโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 66 โรงเรียน และขั้นตอนที่ 3 รายงานผลการวิจัย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผลจากการวิเคราะห์ ประมวลผลและเสนอแนะ เขียนรายงานผลการวิจัย โดยใช้ค่า เฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อวิเคราะห์ระดับการปฏิบัติตามแนวการจัดการเรียนรู้ตามแนว สะเต็มศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ทุกโรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยรูปแบบที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุดคือ การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาโดยการบูรณาการเนื้อหา ( = 4.13) ลำดับที่สองคือ รูปแบบการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ ( = 4.04) และลำดับสามคือ รูปแบบการบูรณาการเป้าหมายของการเรียนรู้ ( = 3.87) ด้านการวัดและประเมินผลมีการประเมินผลด้านกระบวนการคิดที่ซับซ้อนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างแสดงข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า โรงเรียนควรมีการกำหนดเป็นนโยบายอย่างชัดเจนเพื่อให้เกิดการวางแผนร่วมกันระหว่างครูในแต่ละวิชาที่เกี่ยวข้อง มีการเขียนแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหา และทำให้การดำเนินการเรียนการสอนมีรูปแบบที่หลากหลาย
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1809
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก95.94 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ112.55 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ82.05 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ95.78 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1123.27 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2557.44 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3100.25 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4263.5 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5145.73 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม124.97 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก306.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.