Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1813
Title: การจัดการความรู้ด้านกระบวนการผลิตหัตถกรรมไทยเพื่อสืบสานวัฒนธรรมฝั่งธนบุรี : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบ้านรักษ์ดิน
Other Titles: The Knowledge management of Production Process of Thai Crafts for Inheritance Thai Cultural in Dhonburi District : Case Study in Baan Rak Din Community Enterprise
Authors: สมจินตนา, จิรายุกุล
Jirayukul, Somjintana
Keywords: หัตถกรรมไทย
วัฒนธรรม
ธนบุรี
การจัดการความรู้
ชุมชนบ้านรักษ์ดิน
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตหัตถกรรมไทยสืบสานวัฒนธรรมฝั่งธนบุรี กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบ้านรักษ์ดิน ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนา และประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน แบบแผนการบุกเบิก กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกประธานและสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านรักษ์ดิน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คน และกลุ่มนักวิชาการนักศึกษาและชุมชน ซึ่งเป็นผู้อาสาสมัครจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ขององค์ความรู้สารสนเทศ และแบบประเมินความเหมาะสมของสารสนเทศการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และวีดีทัศน์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา การสรุปเชิงอุปมาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเป็นมาวิถีการดำเนินกิจการและกระบวนการผลิตหัตถกรรมไทยสืบสานวัฒนธรรมฝั่งธนบุรีของวิสาหกิจชุมชนบ้านรักษ์ดิน พบว่า มีแนวทางการผลิตหัตถกรรม โดยใช้เยื่อไม้ใยกระดาษ การรักษาสิ่งแวดล้อม การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประยุกต์ที่มีอัตลักษณ์ มีวิถีศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทยของฝั่งธนบุรี จากโบสถ์และวัดในชุมชน มีกระบวนการผลิตผลงานหัตถกรรมจากเยื่อไม้ใยกระดาษ ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ของโชว์ ของใช้และเครื่องประดับ โดยใช้บัวจงกลนี บัวสายพันธุ์ไทยแท้เป็นแบบ การทำงานใช้หลักธรรมะทางศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ 2) ผลการศึกษาการบริหารจัดการเพื่อสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมหัตถกรรมไทยฝั่งธนบุรีของวิสาหกิจชุมชนบ้านรักษ์ดิน ผลการวิจัย พบว่าแนวทางการบริหารจัดการเน้น การสร้างสรรค์ผลงานตามองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมที่มีอยู่ในตัวของประธานและสมาชิกของกลุ่ม(tacit knowledge) และการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากการเข้ารับการอบรมสัมมนาของหน่วยงานต่าง ๆ (explicit knowledge) โดยมีกระบวนการบริหารจัดการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน(Planning) ด้านการจัดองค์การ (Organizing) ด้านการนำ (Leading) และด้านการควบคุม(Controlling) เพื่อผลจากการบริหารจัดการนั้นมุ่งเพื่อสร้างผลกำไร การประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจไปพร้อมกับการมุ่งสร้างสรรค์ผลงานทางหัตถกรรมที่ทรงคุณค่าและเป็นการอนุรักษ์สืบสานให้งานหัตถกรรมไทยฝั่งธนบุรียังคงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป 3) ผลจากการการตรวจสอประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญและตรวจสอบประสิทธิผลโดยกลุ่มผู้ศึกษาสื่อซึ่งผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นความถูกต้องและเหมาะสมโดยมีค่าคะแนน IOC เท่ากับ 1.00 ทุกประเด็น และผลการประเมินความเหมาะสมของสารสนเทศการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และวีดีทัศน์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.64 S.D. = 0.47)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1813
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก68.57 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ114.84 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ66.7 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ194.55 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1233.73 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.98 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3302.63 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5385.76 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม164.29 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก465.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.