Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1816
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธัชกร, ภัทรพันปี-
dc.contributor.authorPhattaraphanpee, Thatchakorn-
dc.date.accessioned2022-12-21T03:57:36Z-
dc.date.available2022-12-21T03:57:36Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1816-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากลุ่มอาชีพชุมชนในตำบลบางปลา (2) เพื่อศึกษากลุ่มอาชีพชุมชนในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแบบมีส่วนร่วม (3) เพื่อเสนอกลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในตำบลบางปลา และ (4) เพื่อวิเคราะห์กลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ และได้เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลในการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 75 คน โดยผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล เกษตรอำเภอเมืองบางพลี สภาวัฒนธรรมตำบล ผู้นำท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) อาชีพชุมชน เช่น กลุ่มอาชีพชุมชน OTOP วิสาหกิจชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน เช่น สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ ประธานชมรมทัวร์ไทย 4.0 ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และนักวิชาการที่มีความรู้ด้านการพัฒนาชุมชนและการท่องเที่ยว โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยนำประเด็นจากการสัมภาษณ์และประเด็นการอภิปลายกลุ่มมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ต่อการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มอาชีพชุมชนยังคงมีอยู่และมีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน พบว่า ด้านเศรษฐกิจเกษตรกรรม เช่น กลุ่มอาชีพทำประมงน้ำจืด สวนเกษตรพอเพียง กลุ่มทำอาชีพเห็ดเยื่อไผ่และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด ด้านศิลปกรรม เช่น กลุ่มอาชีพละครชาตรี ด้านเศรษฐกิจชุมชน เช่น กลุ่มอาชีพทำปลาสลิดเค็มแดดเดียว กลุ่มอาชีพผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ด้านโภชนาการ เช่น กลุ่มอาชีพทำอาหารไทยพื้นบ้าน กลุ่มอาชีพทำอาหารหวานพื้นบ้าน กลุ่มอาชีพทำผลิตภัณฑ์อาหารพื้นบ้านแปรรูป และเมื่อพิจารณาถึงข้อมูลการเป็น แหล่งท่องเที่ยวชุมชนแบบมีส่วนร่วม พบว่า การมีแหล่งน้ำที่มากพอสำหรับทำเกษตรกรรมดั้งเดิมของกลุ่มอาชีพชุมชน และกลุ่มอาชีพชุมชนมีผู้นำกลุ่มที่มีทักษะและประสบการณ์ มีแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสมาชิกให้ความนับถือและให้ความร่วมมือมีความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมของกลุ่ม อีกทั้งการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการจัดพื้นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่แน่นอน มีเวทีถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ให้กับคนรุ่นใหม่เพื่อให้เกิดความสนใจในการรับช่วงต่อกลุ่มอาชีพชุมชน และเมื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน คือ การมีข้อจำกัดของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นจอดรถและที่จัดกิจกรรมแสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพชุมชนในการรองรับนักท่องเที่ยว เพราะไม่ได้ออกแบบมาก่อน และสภาพของถนนที่มีการสัญจรคับคั่งและแออัด อีกทั้งการประชาสัมพันธ์เพื่อการรับรู้ถึงเอกลักษณ์อาชีพหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนให้กับนักท่องเที่ยวยังไม่ทั่วถึงอย่างแท้จริง ในส่วนข้อเสนอการพัฒนากลุ่มอาชีพต้นแบบการเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ การกำหนดจุดที่ตั้งของกลุ่มอาชีพชุมชนโดยใช้สีเครื่องหมาย แสดงประเภทของกลุ่มอาชีพชุมชนที่ยังคงมีการทำอาชีพชุมชน โดยการใช้ระบบการค้นหาจากแผนที่ทางกูเกิ้ลแม็บ และกำหนดเขตพื้นที่ด้วยการใช้รหัสสีหรือโทนสีเพื่อบอกถึงระดับความพร้อมของกลุ่มอาชีพชุมชนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเพิ่มคุณค่าให้กับกลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบด้วยการใช้แบบสัญลักษณ์ 3 มิติแห่งคุณค่าที่แสดงถึงการเชื่อมโยงถึงจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่นๆ เพื่อการรับรู้ของนักท่องเที่ยวen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .en_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectชุมชนต้นแบบen_US
dc.subjectแหล่งท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวชุมชนen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.subjectบางปลาen_US
dc.titleการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนต้นแบบในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.title.alternativeThe development of community occupation groups model to community-based tourism in Tumbol Bangpla Bangplee district Samutprakarn provinceen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก227.51 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ400.72 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ180.08 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ558.81 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1612.31 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 22.09 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3441.57 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 47.49 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5877.92 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม491.84 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก10.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.