Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1819
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไกรรัช, เทศมี-
dc.contributor.authorThetmee, Krairuch-
dc.date.accessioned2022-12-21T04:16:38Z-
dc.date.available2022-12-21T04:16:38Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1819-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบเคลือบคาราเมล มีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตกล้วยน้ำว้าทอดกรอบ พัฒนาสูตรกล้วยกรอบเคลือบคาราเมล ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบเคลือบคาราเมลและถ่ายทอดผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบเคลือบคาราเมลสู่ชุมชน ผู้วิจัยใช้กล้วยน้ำว้าดิบระดับความสุกระดับที่ 1 หั่นเพื่อการทอดกรอบ 3 ลักษณะ ความหนาชิ้นละประมาณ 1.5 มิลลิเมตร นำไปวิเคราะห์เนื้อสัมผัสด้านความแข็ง (Hardness) ความกรอบ (Crispness) และวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ โดยการวัดค่าสี ได้แก่ ค่า L* a* b* นำกล้วยที่ได้ไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส กับผู้บริโภคทั่วไปจำนวน 100 คน ที่คะแนนความชอบ ระดับ 9-Point Hedonic Scale นำผลการประเมินทั้ง 2 มาเปรียบเทียบกันแล้วทำการคัดแผ่นกล้วยที่มีคุณสมบัติที่ดีที่สุดมา 1 คุณลักษณะเพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบเคลือบคาราเมล ทำการการศึกษาปริมาณแผ่นกล้วยทอดกับคาราเมล จำนวน 3 สูตร นำผลิตภัณฑ์ไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ โดยผู้บริโภคทั่วไปจำนวน 100 คน ด้วยวิธีการให้คะแนนความชอบระดับ 9-Point Hedonic Scale นำผลที่ได้ไปถ่ายทอดผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบเคลือบคาราเมลสู่ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า การหั่นกล้วยลักษณะที่ 1 ดีที่สุด เนื่องจาก ลักษณะแผ่นกล้วยมีสีของแผ่นกล้วยเหลืองทองปนน้ำตาลอมแดงเล็กน้อย แผ่นกล้วยแบน บางกรอบ เบา ไม่แข็ง และไม่เปราะบาง ค่าความสว่างของการหั่นกล้วยลักษณะที่ 1 (L*) มีค่าเท่ากับ 37.78 ± 0.63 ค่าสีแดง (มีค่าเท่ากับ +5.85 ± 0.25 และค่าสีเหลือง (มีค่าเท่ากับ +33.86 ± 0.38 Hardness มีค่าเท่ากับ 1254.73 ± 306.49 Crispness มีค่าเท่ากับ 3.47 ± 0.52 คะแนนความชอบผู้บริโภคที่มีต่อลักษณะแผ่นกล้วยน้ำว้าทอดกรอบ การหั่นลักษณะที่ 1 ด้านลักษณะปรากฏ มีคะแนนเท่ากับ 8.96±0.17 ความกรอบ มีคะแนนเท่ากับ7.57±0.18 รูปทรง มีคะแนนเท่ากับ 7.54±0.16 เนื้อสัมผัส มีคะแนนเท่ากับ 7.92±0.14 และ ความชอบโดยรวม มีคะแนนเท่ากับ 7.99±0.15 และอัตราส่วนของปริมาณแผ่นกล้วยทอดกับคาราเมล คือ ปริมาณแผ่นกล้วยทอด 750 กรัม: คาราเมล 400 กรัม ความพึงพอใจต่อการจัดอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตกล้วยกรอบเคลือบคาราเมล พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจเรื่องในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.65) เรื่อง ความพร้อมของสถานที่และอุปกรณ์ในการอบรม การถ่ายทอดและการตอบคำถามของวิทยากร เนื้อหาการอบรมเข้าใจได้ง่าย ท่านได้รับความรู้เพิ่มขึ้นหลังการจัดอบรม ท่านสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ ท่านสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับให้แก่ผู้อื่นได้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.75 - 4.65) ส่วนเรื่องเอกสารประกอบการฝึกอบรมมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 4.65)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .en_US
dc.subjectกล้วยกรอบen_US
dc.subjectคาราเมลen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์กล้วยen_US
dc.subjectกล้วยน้ำว้าen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบเคลือบคาราเมลen_US
dc.title.alternativeDevelopment of Caramel Crispy Bananaen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก117.06 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ113.77 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ72.09 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ149.81 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1135.88 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2776.97 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3190.39 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4228.2 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5188.18 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม115.72 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก444.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.