Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1829
Title: การพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Development of SamutPrakan Elderly Group’s Community Product Marketing Strategies
Authors: ภัทรา, สุขะสุคนธ์
Sukasukont, Patra
Keywords: กลยุทธ์การตลาด
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
ผู้สูงอายุ
สมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. research and development institute .
Abstract: การวิจัยเรื่องการพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถ ปัญหาและอุปสรรคในการสร้างรายได้ของผู้สูงอายุ จากผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-75 ปี ที่ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธี Cronbach’s Alpha เท่ากับ .96 ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ศึกษาการรับรู้และภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุที่พึงประสงค์จากผู้บริโภคที่มาแหล่งชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ เลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธี Cronbach’s Alpha เท่ากับ .95 ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) ศึกษาสิ่งแวดล้อมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องต่อการพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุ จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ และผลการศึกษาจากวัตถุประสงค์ข้อ 1 และข้อ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุ โดยนำผลการ SWOT analysis สิ่งแวดล้อมการตลาดที่ได้จากการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อ 3 มาจัดทำ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความสามารถในการสร้างรายได้ระดับมากเมื่อแยกตามรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยคือ ด้านความพร้อมของตนเอง ด้านความพร้อมการบริหารจัดการ และด้านความพร้อมทางการตลาด ส่วนด้านความพร้อมทางการเงินอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่รับรู้ว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาทำการพัฒนาจนกลายเป็นสินค้าที่สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชน รู้ว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการทางความคิดรวมถึงการบริการ การดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษา ภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เคยเห็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่แน่ใจว่าเคยได้ยินคนชมผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุ เคยได้รับการแนะนำให้ซื้อผลิตภัณฑ์ และไม่แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ชุมชนตราใดที่ผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการเป็นผู้ผลิต ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่สนใจผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารมากที่สุด รองลงมาของใช้ประดับตกแต่ง สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เครื่องดื่ม ผ้าและเครื่องแต่งกายและน้อยที่สุดคือนวด โฮมสเตย์ และบริการต่างๆ เมื่อนำกลุ่มลูกค้าแยกตามความสนใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนในแต่ละประเภทมาวิเคราะห์หาภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ ที่ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านผลิตภัณฑ์ 2.ด้านราคา 3.ด้านสถานที่และช่องทางการกระจายสินค้า 4.ด้านการสื่อสารการตลาด 5.ด้านบริการ 6.ด้านองค์กร พบว่า ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของลูกค้าในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) ผู้สูงอายุมีความมุ่งมั่น อดทนในการทำงาน มีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างรายได้ มีเงินลงทุนไม่มาก ยังขาดความรู้ในการดำเนินงานทางธุรกิจ แต่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ใช้ช่องทางการขายหน้าร้านแบบดั่งเดิม และใช้ลูกค้าที่เคยซื้อประชาสัมพันธ์บอกต่อกันไป การซื้อขายสินค้าทางออนไลน์เป็นที่นิยม 4)ควรนำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาและสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์ และสื่อสารการตลาดให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักทางสื่อสังคมออนไลน์ ควรกำหนดราคาเชิงธุรกิจ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายตัวสินค้า
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1829
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก81.65 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ174.99 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ194.75 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1222.84 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.04 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3217.9 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.2 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5776.3 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม208.74 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก721.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.