Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1846
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปนัดดา, ยิ้มสกุล-
dc.contributor.authorYimsakal, Panadda-
dc.contributor.authorวิไล, ตั้งจิตสมคิด-
dc.contributor.authorTangchitsomkit, Wilai-
dc.contributor.authorวาสนา, เพิ่มพูล-
dc.contributor.authorPermpool, Wasana-
dc.contributor.authorนฤมล, ปภัสสรานนท์-
dc.contributor.authorPapatsaranon, Naruemon-
dc.contributor.authorวาสนา, สังข์พุ่ม-
dc.contributor.authorSangpum, Wasana-
dc.date.accessioned2023-02-17T07:21:35Z-
dc.date.available2023-02-17T07:21:35Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1846-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัยในทศวรรษหน้า 2) เพื่อสร้างนวัตกรรมเสริมพลังในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัยในทศวรรษหน้าสู่การปฏิบัติโดยใช้ชุมชนและสถานศึกษาเป็นฐานและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัยในทศวรรษหน้า ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในชุมชนพื้นที่เขตธนบุรี 44 ชุมชน มีจำนวน 1,038 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้ศึกษาบริบทชุมชนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จำนวน 440 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์ เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชน ไม่น้อยกว่า 10 ปี และเป็นผู้สูงอายุที่มีความพร้อมในด้านเวลา สุขภาพ ประกอบกับสนใจและสมัครเข้าร่วมกิจกรรมเสริมพลัง ใช้ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมกิจกรรมเสริมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัยในทศวรรษหน้า จำนวน 150 คน ใช้เกี่ยวกับการประเมินนวัตกรรมเว็บไซต์คลังความรู้และแนวทางการบริหารจัดการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเข้าสู่สังคมสูงวัยในทศวรรษหน้า จำนวน อย่างละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสำรวจบริบทชุมชน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินคุณภาพนวัตกรรมคลังความรู้ ผลการศึกษาพบว่า 1. ผลการศึกษาบริบทชุมชนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชุมชนพื้นที่เขตธนบุรี จำนวน 44 ชุมชน ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชนพื้นที่เขตธนบุรี ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่ค่อนข้างแออัด มีแม่น้ำลำคลองที่สำคัญหลายสายไหลผ่าน ชุมชนเขตธนบุรีเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญ จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งเป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งผู้ทรงภูมิปัญญาส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีความรู้และประสบการณ์ที่มีความเชี่ยวชาญ อาชีพของคนในชุมชนค่อนข้างหลากหลาย ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป ส่วนองค์ประกอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ สุขภาพกายและใจ อาหารและโภชนาการ หลักประกันและความมั่นคงในชีวิต การมีส่วนร่วมในสังคม การจัดการความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และบทบาทหน้าที่ของครอบครัวและผู้สูงอายุ 2. ผลการสร้างนวัตกรรมเสริมสร้างในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ชุมชนพื้นที่เขตธนบุรี ด้วยการจัดกิจกรรมเสริมพลังให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 4 กิจกรรม ในภาพรวมพบว่า องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก ส่วนการประเมินกิจกรรม พบว่าความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่มีต่อกิจกรรมทั้งในด้านความรู้ความเข้าใจ ความพึงพอใจและการนำความรู้ไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินคุณภาพของนวัตกรรมเว็บไซต์คลังความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก 3. ผลศึกษาแนวทางการบริหารจัดการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัยในทศวรรษหน้าชุมชนพื้นที่เขตธนบุรี ส่วนใหญ่มีพลังความพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม/ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ต้องการกิจกรรมเสริมพลังในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจและการบริการด้านสุขภาพ มีความสุขกับสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบตนเอง จากการตรวจเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ทำให้ทราบปัญหาและความต้องการช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น สภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และความต้องการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพในการสร้างรายได้เสริม ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จนสามารถพึ่งพาตนเอง มีหลักประกันและความมั่นคงในชีวิต ตลอดจนต้องการเรียนรู้การนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. research and development institute .en_US
dc.subjectนวัตกรรมen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectสถานศึกษาen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการสร้างนวัตกรรมเสริมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัยในทศวรรษหน้าโดยใช้ชุมชนและสถานศึกษาเป็นฐานen_US
dc.title.alternativeResearch on Innovation Empowerment to Improve the Quality of Life of the Elderly into the Aging Society in the Next Decade by using Communities and Schools as a Baseen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก88.07 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ103.93 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ56.56 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ223.76 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1317.06 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.25 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3329.38 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 47.6 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5518.3 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม171.95 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก8.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.