Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1852
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุธิดารัตน์, มัทธวรัตน์-
dc.contributor.authorMattavarat, Sutidarat-
dc.contributor.authorชยาภรณ์, ศฤงคารทวีกุล-
dc.contributor.authorSalingkantaweekul, Chayaporn-
dc.date.accessioned2023-02-27T08:51:42Z-
dc.date.available2023-02-27T08:51:42Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1852-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ศึกษาการบริหารจัดการในการสืบสานและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 3) การสร้างสื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในการสืบสานและอนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งธนบุรี: กรณีศึกษาชุมชนกำแพงทองพัฒนา ใช้การวิจัยและพัฒนามาประยุกต์ร่วมกับการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารชุมชนกำแพงทองพัฒนา จำนวน 3 คน ประชาชนในชุมชนกำแพงทองพัฒนา 20 คน นักวิชาการ นักศึกษา และประชาชนซึ่งเป็นผู้อาสาสมัคร จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความถูกต้องเหมาะสมขององค์ความรู้ที่จัดรวบรวมเป็นสารสนเทศในรูปแบบของวีดีทัศน์โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้สื่อวิดีทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหา ใช้การสรุปเชิงอุปมาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน กำแพงทองพัฒนา พบว่า ชุมชนกำแพงทองพัฒนาเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา(สายเดิม) ซึ่งต่อมากลายเป็นคลองบางข้าหลวง และเป็นคลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวงในปัจจุบัน ชุมชนแห่งนี้มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ส่งผลให้ชุมชนมีโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์ที่เป็นสมบัติอันมีค่า ตลอดจนประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนก็เป็นกลุ่มคนที่ส่งต่อสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษทำให้มีความผูกพันกับสถานที่แห่งนี้ มีการดำรงชีวิตตามวิถีชาวคลองมาจนถึงปัจจุบันได้โดยมีปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ (1) การมีความคุ้มครองจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ที่กำหนดให้ “คลองบางกอกใหญ่” หรือ “คลองบางหลวง” เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ (2) การที่ผู้อาศัยอยู่ในชุมชนทั้งผู้อาศัยเดิมและผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่มีค่านิยมหลักและอุดมการณ์เดียวกันคือ การเน้นความเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ เคารพในความเป็นส่วนตัวซึ่งกันและกัน มีพิธีกรรมและพิธีการที่ร่วมสมัยกันในความเชื่อเกี่ยวกับสุนทรียะทางศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น และวิถีแห่งการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย 2) การศึกษาการบริหารจัดการในการสืบสานและอนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนกำแพงทองพัฒนา พบว่า แนวทางการบริหารจัดการส่วนใหญ่เน้นความเป็นอิสระ แต่เคารพในความเป็นส่วนตัว ซึ่งกันและกัน รับผิดชอบตามขอบเขตแห่งตนไม่ก้าวก่ายกัน มีความเชื่อเกี่ยวกับสุนทรียะทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และวิถีแห่งการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับกระบวนการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการนำ และด้านการควบคุม ผลจากการบริหารจัดการนั้นมิได้มุ่งเพื่อสร้างผลกำไรหรือการประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจแต่มุ่งสร้างสรรค์ และสืบสานให้ชุมชนกำแพงทองพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอยู่คู่สังคมไทยสืบไป 3) ผลจากการตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องและเหมาะสมโดยมีค่าคะแนน IOC เท่ากับ 1.00 ทุกประเด็น และผลการประเมินความเหมาะสมของสารสนเทศการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบวีดีทัศน์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62 S.D. = 0.56) ดังนั้นเพื่อให้เกิดการสืบสานและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้อย่างจริงจัง จึงควรมีหน่วยงานหลักกำหนดนโยบายส่งเสริมให้มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาและองค์ความรู้ โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นองค์ความรู้และการประชาสัมพันธ์ให้แพร่หลาย ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่อไปen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. research and development institute .en_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectชุมชนกำแพงทองวัฒนาen_US
dc.subjectฝั่งธนบุรีen_US
dc.subjectการอนุรักษ์วัฒนธรรมen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการในการสืบสานและอนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมฝั่งธนบุรี: กรณีศึกษาชุมชนกำแพงทองพัฒนาen_US
dc.title.alternativeThe Knowledge Management of Administration for Cultural Tourism in Thonburi District: Case Study in Kumpangthongpattana Communityen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก97.79 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ530.08 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ256.05 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ239.15 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1422.92 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 22.4 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3697.46 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 48.18 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5596.45 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม526.26 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.