Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/300
Title: ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุขององค์การบริหาร ส่วนตำบล ในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Satisfaction towards Social Welfare for the Elerly Managed by Subdistrict Administrative Organizations in Nonthai District, Nakhonratchasima Province
Authors: จิรันดร, วิกสูงเนิน
Viksungnoen,Jirandon
Keywords: สวัสดิการสังคม - วิจัย
ผู้สูงอายุ - การสงเคราะห์
ผู้สูงอายุ - วิจัย
สาขาวิชาการจัดการโครงการและการประเมินโครงการ
วิทยานิพนธ์
ผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์)
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อ การจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ ภายในกลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องและภายในกลุ่มผู้สูงอายุที่รับสวัสดิการสังคม ตามตัวแปร สถานภาพส่วนบุคคล 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ ระหว่าง บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้สูงอายุที่รับสวัสดิการสังคม 4) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ จากทั้ง 2 กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ 1) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุ จำนวน 45 คน 2) ผู้สูงอายุที่ได้รับ สวัสดิการ จำนวน 365 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91 การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้สูงอายุที่รับสวัสดิการสังคม ใน ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ก็พบว่า ทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกันยกเว้น ด้านที่พักและศูนย์บริการเท่านั้น ที่ความพึงพอใจของทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับน้อย 2) ผลการเปรียบเทียบความ พึงพอใจภายในกลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้อง พบว่า บุคลากรที่มี เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และสถานที่ ปฏิบัติงานต่างกัน มีความพึงพอใจ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีอายุ และตำแหน่งหน้าที่ต่างกันมี ความพึงพอใจต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ การเปรียบเทียบความพึงพอใจ ภายในกลุ่มผู้สูงอายุที่รับสวัสดิการสังคม พบว่า ผู้สูงอายุที่มีเพศ และอายุ ต่างกัน มีความพึงพอใจ โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนบุตร สภาวะสุขภาพ และผู้ช่วยเหลือดูแล ต่างกัน มีความพึงพอใจ โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการเปรียบเทียบ ความพึงพอใจ ระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่รับสวัสดิการสังคม พบว่า มีความพึงพอใจโดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) จากการประมวลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ พบว่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม ไม่ได้นำเสนอความคิดเห็นใดๆ ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุที่รับ สวัสดิการสังคม ใน 3 ตำบล ได้เสนอความคิดเห็นที่เรียงตามลำดับจากความถี่สูงสุดลงไปได้ ดังนี้ 1) ตำบลมะค่า ต้องการให้เพิ่มเบี้ยยังชีพให้มากขึ้น 2) ตำบลค้างพลู เสนอการส่งเสริมอาชีพให้ผู้สูงอายุ และ 3) ตำบล โนนไทย ต้องการ ให้เพิ่มโครงการพัฒนาผู้สูงอายุ ในด้านการส่งเสริมอาชีพ และการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/300
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก122.48 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ88.17 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ112.61 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ71.72 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ262.21 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1176.59 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 2581.1 kBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3158.72 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 4836.15 kBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 514.38 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม166.44 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก592.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.