Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/459
Title: โครงการ"แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษา บริษัท B.D.I Group จังหวัดสมุทรปราการ"
Other Titles: Guidelines for the Prevention and Solution of Accidents in the Industry: A Case Study of BDi Group, Samutprakarn Province
Authors: ปรียาวดี, ผลเอนก
Pon-anake, Pareeyawadee
กมลทิพย์, โตเมศน์
Tomet, Kamontip
Keywords: โรงงานอุตสาหกรรม
การเกิดอุบัติเหตุ
ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2012
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรม และเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนด้วยการหาสาดหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุและการจัดการสภาพแวดล้อมของบริษัท B.D.I Group จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้มาจากการเลือกตัวอย่างที่ใช้ความน่าจะเป็น(Probability Sampling) ในวิธีการเลือกตัวอย่างแบบง่าย (Simple Sampling) สำหรับการวิจัยครั้งนี้คณะผู้วิจัยใช้ขนาดตัวอย่างจำนวน 208 คนแล้วนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสถิติอ้างอิง (Inference Statistics) ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบจำลองเชิงชั้น (Hierarchical Model) ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า ลักษณะของผู้ปฏิบัติงาน พฤติกรรมด้านความปลอดภัยตามกฎระเบียบของโรงงาน สาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ และการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงงานส่งผลต่อแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากคำถามปลายเปิดในเรื่องข้อเสนอแนะที่มีต่อแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุด้านสาเหตุจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยพบว่า ควรส่งเสริมพนักงานให้มีจิตสำนึกในเรื่องของความปลอดภัย / การฝึกอบรมด้านความปลอดภัยแก่พนักงาน / ส่งเสริมด้านความปลอดภัยให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 39.68 ส่วนด้านสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยพบว่า ต้องไม่ใช้เครื่องมือและเครื่องจักรที่มีอุปกรณ์ไม่ครบและเสื่อมสภาพมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 17.86 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในเรื่องแสงสว่างพบว่า ควรเพิ่มแสงสว่างให้มากขึ้นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.77 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในเรื่องเสียงพบว่า ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(PPE) เช่น ที่ครอบหู Ear Plug เพื่อป้องกันเสียงที่ดังเกินไปมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 35.29 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในเรื่องอุณหภูมิและความชื้นพบว่า สถานที่ทำงานควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกมากขึ้น เช่น เปิดพัดลมระบายอากาศ และต้องมีจำนวนพัดลมบริเวณหน้างานเพื่อระบายอากาศอย่างเพียงพอมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 37.21 ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในเรื่องสารเคมีพบว่า ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ขณะพ่นสีมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 36.96 และด้านการจัดสภาพแวดล้อมในเรื่องฝุ่นละอองพบว่า ควรนำกิจกรรม 5 ส. มาใช้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/459
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก368.2 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ1.4 MBAdobe PDFView/Open
acknowledge.pdfกิตติกรรมประกาศ51.06 kBAdobe PDFView/Open
table of con.pdfสารบัญ1.6 MBAdobe PDFView/Open
unit1.pdfบทที่ 1874.14 kBAdobe PDFView/Open
unit2.pdfบทที่ 29.5 MBAdobe PDFView/Open
unit3.pdfบทที่ 3819.83 kBAdobe PDFView/Open
unit4.pdfบทที่ 44.57 MBAdobe PDFView/Open
unit5.pdfบทที่ 51.58 MBAdobe PDFView/Open
unit6.pdfบทที่ 62.04 MBAdobe PDFView/Open
unit7.pdfบทที่ 73.47 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม623.92 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.