Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/508
Title: ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวลาวครั่งบ้านบ่อกรุและบ้านทุ่งกฐิน ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: Socio-Cultural Aspects of Lao Khrang in Borkru and Thungkathin Villages, Borkru Sub-district,
Authors: พระสยาม, กาฬภักดี (อหึสโก)
Karaphakdee (Ahingsako), Phra Sayam
Keywords: ชนกลุ่มน้อย - พม่า
ลาวครั่ง - ความเป็นอยู่และประเพณี - วิจัย
Issue Date: 2006
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวลาวครั่งบ้านบ่อกรุและบ้านทุ่งกฐิน ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ในด้านโครงสร้างทางสังคมที่สำคัญ รวมถึงวัฒนธรรมด้านประเพณีและพิธีกรรม ตลอดจนวัฒนธรรมด้านวัตถุ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งวิธีการปรับตัวเพื่อธำรงรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่ม สำหรับกระบวนการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาสำรวจชุมชน การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่างประชากรของชาวลาวครั่ง 3 กลุ่ม และการสังเกตสภาพแวดล้อมทางกายภาพ บ้านเรือนที่อยู่อาศัยและสิ่งของต่างๆ ตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออกของชาวลาวครั่งทั้งภายในครอบครัวและในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าก่อนสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มชาวลาวครั่งบ้านบ่อกรุและบ้านทุ่งกฐินได้อพยพย้านถิ่นมาจากบ้านหนองเหียงใหญ่ในอำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2410 ต่อมาประชากรกลุ่มหนึ่งแยกออกมาก่อตั้งบ้านทุ่งกฐิน เมื่อปี พ.ศ. 2476 เนื่องจากมีประชากรเพิ่มขึ้นและเพื่อหาพื้นที่ประกอบอาชีพเพิ่มเติม โครงสร้างครอบครัวของชางลาวครั่งมีลักษณะเป็นแบบครอบครัวขยาย มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติแบบสายเลือดเดียวกันโดยการสมรส และโดยการอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน ชาวลาวครั่งมีความเชื่อในเรื่องขวัญ ผี วิญญาณ และคำสอนของพุทธศาสนา ระบบเศรษฐกิจเดิมเป็นแบบยังชีพ แต่ต่อมาเปลี่ยนแปลงมาสู่การผลิตเพื่อการค้า มีผู้นำตามธรรมชาติ และผู้นำแบบทางการคอยควบคุมดูแลและให้ความช่วยเหลือมีการศึกษาในระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีการรักษาโรคโดยแพทย์แผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบัน สำหรับวัฒนธรรมของชาวลาวครั่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ (1) วัฒนธรรมส่วนนามธรรม ประกอบด้วยประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับศาสนา ชีวิต สังคม และอาชีพ และ (2)วัฒนธรรมส่วนรูปธรรม ประกอบด้วย บ้านเรือนที่อยู่อาศัย หัตถกรรมผ้าทอที่มีลวดลายเฉพาะเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร ในครัวเรือน และในพิธีกรรมต่างๆ สวนปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม พบว่า มีทั้งปัจจัยทั้งภายในและภายนอกซึ่่งปัจจัยภายใน ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของประชากรในครอบครัวและการย้ายเข้ามาของคนต่างถิ่น ผู้นำชุมชนซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับชุมชนและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้เชื่อมต่อกับชุมชนอื่นๆ อิทธิพลของสื่่อสารมวลชนทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว นโยบายการพัฒนาของรัฐในด้านการศึกษาและการแพทย์สาธารณสุข ตลอดจนการแพร่กระจาย ของวัฒนธรรมบริโภคนิยม สำหรับการปรับตัวเพื่อธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวลาวครั่งให้คงอยู่ต่อไปคือ การพูดภาษาลาวครั่งของสมาชิกซึ่งยังคงใช้ติดต่อสื่อสารกันในชุมชน การสืบทอดประเพณีและพิธีกรรมการเลี้ยงผีเจ้านายการทำบุญกลางบ้าน และการแห่ธงสงกรานต์ ซึ่งมีการปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นฟูการทอผ้าซิ่น ตีนจกสีแดง และผ้าขาวม้า 5 สี อันเป็นหัตถกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของลาวครั่ง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/508
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก267.38 kBAdobe PDFView/Open
Title2.pdfหน้าอนุมัติ122.13 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ530.05 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ218.5 kBAdobe PDFView/Open
table_of_contents.pdfสารบัญ522.58 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 12.27 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 272.28 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.06 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 425.93 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 549.16 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม1.64 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.