Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/624
Title: บทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Expected Role and the Actual Role of the Village Health Volunteers in Bangbo District, Samutprakan Province
Authors: วารุณี, แสงวัฒน์
Sangwat, Warunee
Keywords: อาสาสมัครสาธารณสุข - วิจัย
สาธารณสุขมูลฐาน - วิจัย
บุคลากรสาธารณสุข - วิจัย
สาขาวิชาการจัดการโครงการและการประเมินโครงการ
วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2010
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ตามความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 2) เปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่ใช้บริการ และตำบลที่อาศัยอยู่ของประชาชนผู้รับบริการ 3) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนผู้รับบริการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้รับบริการจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 384 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .90 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทที่คาดหวังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ตามความคิดเห็นของของประชาชนผู้รับบริการ ทั้งในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก ส่วนบทบาทที่เป็นจริง อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริง พบว่า โดยภาพรวม ประชาชนผู้รับบริการที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปร อายุ ของผู้รับบริการ พบว่า ในภาพรวม ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่คาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนบทบาทที่เป็นจริงไม่แตกต่างกัน สำหรับการเปรียบเทียบระดับการศึกษา และอาชีพหลักของผู้รับบริการ พบว่า ในภาพรวม ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่คาดหวังไม่แตกต่างกัน ส่วนบทบาทที่เป็นจริงในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนตัวแปร รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่ใช้บริการและตำบลที่อยู่อาศัยของผู้รับบริการ พบว่า ในภาพรวม ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่คาดหวัง และบทบาทที่เป็นจริง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) จากการวิเคราะห์เนื้อหา ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ของประชาชนผู้รับบริการจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า ประชาชนผู้รับบริการ ใน 7 ตำบลจาก ทั้งหมด 8 ตำบล เสนอความคิดเห็นที่มีความถี่สูงสุด เรียงตามลำดับได้แก่ ขอให้สนับสนุนยารักษาโรคเบื้องต้น (38 ราย) ต้องการให้มีที่พักเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ (30 ราย) และให้ดูแลผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ (12 ราย)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/624
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก122.61 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ73.19 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ112.82 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ71.96 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ304.23 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1184.39 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2537.21 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3146.51 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4797.38 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5263.83 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม118.19 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก656.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.