Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/927
Title: การวิเคราะห์องค์ประกอบความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
Other Titles: The Analysis of the Factors of Readiness of Rajabhat University to Enter ASEAN Community
Authors: วีรชัย, คำธร
Kamthorn, Wirachai
Keywords: ประชาคมอาเซียน
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความหมาย วิธีการวัดระดับความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน อีกทั้งมุ่งสร้างเครื่องมือแบบวัดโดยการศึกษาเชิงสำรวจองค์ประกอบความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน รวมถึงมุ่งศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันลักษณะบุคลากรที่มีความพร้อมเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 677 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 72 ข้อ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีคุณภาพเครื่องมือวัด พิสัยค่า r ระหว่าง .635-.781 พิสัยค่า t ระหว่าง 16.41-25.45 และค่าความเชื่อมั่น a .988 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exprolatory Factor Analysis : EFA) โดยวิธีแบบหมุนแกน (Rotation Method : Varimax with Kaiser Normalization) ทำการสกัดองค์ประกอบหลัก (Principal Component Method) เพื่อรวบรวมหรือลดกลุ่มตัวแปรที่สังเกตได้และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Confirmatory Factor Analysis : Second Order) ผลการศึกษาที่สำคัญพบด้งนี้ ประการที่ 1 ความหมายของความพร้อมเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ได้แก่ ด้านประชาคมความมั่นคงอาเซียน เช่น การตระหนักถึงการพึ่งพาอาศัยกัน มีความเสมอภาคเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาค ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น การพัฒนาศักยภาพของการแข่งขันโดยการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ด้านประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน เช่น การสร้างความตระหนักในความมั่งคั่งทางประวัติศาสตร์ ภาษา วัฒนธรรม ค่านิยมร่วมกันในหมู่พลเมืองอาเซียน ประการที่ 2 ระดับความพร้อมเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.47) ประการที่ 3 องค์ประกอบเชิงสำรวจความพร้อมเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในกลุ่มรวม พบว่า มีจำนวน 43 ตัวบ่งชี้ ในกลุ่มย่อย เรียงจำนวนตัวบ่งชี้จากมากไปหาน้อย ได้แก่ กลุ่มอายุงานต่ำกว่า 7 ปี พบ 49 ตัวบ่งชี้ กลุ่มเพศชาย พบ 45 ตัวบ่งชี้ กลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปี พบ 43 ตัวบ่งชี้ กลุ่มการศึกษาปริญญาโท-เอก พบ 40 ตัวบ่งชี้ ลุ่มเพศหญิง พบ 38 ตัวบ่งชี้ กลุ่มอายุ 36 ปี ขึ้นไป พบ 36 ตัวบ่งชี้ กลุ่มสายสนับสนุน พบ 34 ตัวบ่งชี้ กลุ่มสายงานวิชาการ พบ 33 ตัวบ่งชี้ กลุ่มอายุงาน 8 ปี พบ 31 ตัวบ่งชี้ และกลุ่มปริญญาตรีหรือต่ำกว่า พบ 26 ตัวบ่งชี้ ตามลำดับ ประการที่ 4 การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ปรากฎว่า ค่าไคสแควร์ (x2) เท่ากับ 456.34 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 412 มีค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.065 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.97, 0.93, และ 1.00 ตามลำดับ ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.013 แสดงว่า โมเดลองค์ประกอบความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ที่สร้างขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/927
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก563.06 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ174.15 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ52.77 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ630.33 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 14.39 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 222.54 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.64 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 421.64 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.55 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม864.29 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก12.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.