Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/929
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวีรชัย, คำธร-
dc.contributor.authorKamthorn, Wirachai-
dc.contributor.authorฐัศแก้ว, ศรีสด-
dc.contributor.authorSrisod, Taskeow-
dc.date.accessioned2018-02-21T04:24:34Z-
dc.date.available2018-02-21T04:24:34Z-
dc.date.issued2013-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/929-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะองค์ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อีกทั้งศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยกลุ่มข้อมูลทั่วไปและกลุ่มพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นอกจากนี้มุ่งศึกษาตัวทำนายที่เป็นตัวทำนายสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รวมถึงมุ่งศึกษาวิเคราะห์พัฒนาซอฟต์แวร์เหมืองข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการนำเสนอสารสนเทศจากเหมืองข้อมูล ซึ่งมีความสะดวกในการแสดงผลผ่านอินเทอร์เน็ต ง่ายต่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สัดส่วน 1:10 ต่อการประมาณค่าหนึ่งพารามิเตอร์ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1,650 คน ใช้เครื่องมือ แบบสอบถามรวบรวมข้อมูล โดยได้รับคืน จำนวน 1,434 ชุด คิดเป็นร้อยละ 86.90 คือ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คุณภาพเครื่องมือแบบสอบถาม พิสัยค่า r ระหว่าง 0.518 - 0.806 พิสัยค่า t ระหว่าง 12.315 - 19.470 และค่าความเชื่อมั่น (Alpha) a = .960 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) โดยวิธีแบบหมุนแกน (Rotation Method : Varimax with Kaiser Normalization) ทำการสกัดองค์ประกอบหลัก (Principal Component Method) เพื่อรวบรวมหรือลดกลุ่มตัวแปรที่สังเกตได้ ผลการศึกษาที่สำคัญพบดังนี้ ประการที่ 1 ข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมท่องเที่ยว (1) ข้อมูลทั่วไปส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยต่ำกว่า 26 ปี การศึกษาปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย ≤ 15,804 บาท (2) พฤติกรรมท่องเที่ยวส่วนใหญ่ มีมูลเหตุจูงใจคือบรรยากาศดี ลักษณะการท่องเที่ยวคือการพักผ่อน เดินทางเป็นครอบครัว ใช้พาหนะรถยนต์ส่วนตัว วันที่ท่องเที่ยว ≤ 3 วัน เป็นวันหยุดตามเทศกาล ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง 5,784 บาท จำนวนครั้งที่เที่ยว ≤ 5 ครั้ง/ปี ฤดูกาลท่องเที่ยวเป็นไตรมาสที่ 2 ประการที่ 2 ระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( x̄=3.69) แบ่งเป็น ด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว (x̄ =3.68) ด้านการสนับสนุนการท่องเที่ยว (x̄=3.71) ด้านธุรกิจการค้าและบริการอื่นๆ (x̄ =3.71) และด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (x̄=3.67) ประการที่ 3 องค์ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมี 29 ตัวบ่งชี้ แบ่งเป็น องค์ประกอบที่ 1 ด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว มี 4 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการสนับสนุนการท่องเที่ยว มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านธุรกิจการค้าและบริการอื่น มี 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มี 10 ตัวบ่งชี้ ประการที่ 4 เปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ (1) นักท่องเที่ยวที่มี เพศ อายุเฉลี่ย วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนโดยเฉลี่ยต่างกัน เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักท่องเที่ยวที่มีพฤติกรรมท่องเที่ยวต่างกัน ได้แก่ มูลเหตุจูงใจ ลักษณะการท่องเที่ยว พาหนะที่ใช้ วันที่ท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อครั้งโดยเฉลี่ย จำนวนครั้งที่ท่องเที่ยวต่อปีโดยเฉลี่ย และฤดูกาลท่องเที่ยว ต่างกัน เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ประการที่ 5 แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ 11 จังหวัด คือ (1) กรุงเทพมหานคร ได้แก่ สวนจตุจักร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และตลาดนัดจตุจักร (2) นนทบุรี ได้แก่ ล่องเรือรอบเกาะเกร็ด เกาะเกร็ด และตลาดน้ำไทรน้อย (3) พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วัดพนัญเชิงวรวิหาร และตลาดน้ำอยุธยา (4) ปทุมธานี ได้แก่ คลองรังสิต วัดใฝ่ล้อม และสวนสนุกดรีมเวิลด์ (5) จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ สถานตากอากาศบางปู พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ และฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์ (6) สระบุรี ได้แก่ อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร และ ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค (7) สิงห์บุรี ได้แก่ การล่องเรือไปตามลำน้ำน้อย อนุสาวรีย์ค่ายบางระจัน และ สวนชมพู่ทองสามสี (8) ชัยนาท ได้แก่ สวนนกชัยนาท วัดปากคลองมะขามเฒ่า และฟาร์มจระเข้วัดสิงห์ (9) ลพบุรี ได้แก่ ทุ่งทานตะวัน ศาลพระกาฬ และสวนสัตว์ลพบุรี (10) นครปฐม ได้แก่ พุทธมณฑล วัดไร่ขิง และสวนสามพราน (11) สมุทรสาคร ได้แก่ นาเกลือ อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ และตลาดมหาชัย ประการที่ 6 ความน่าสนใจต่อแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดภาพรวม เป็นตัวทำนายพยากรณ์สำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประการที่ 7 การวิเคราะห์และออกแบบระบบเหมืองข้อมูล เป็นการออกแบบระบบเหมืองข้อมูลพฤติกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ จำนวนร้อยละ นำเสนอผลวิเคราะห์ในรูปแบบกราฟิก ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถเลือกข้อมูลจากเหมืองข้อมูลตามความต้องการ ในรูปแบบเว็บไซต์ http://research.dru.ac.th/datamining/ ซึ่งมีความสะดวกในการแสดงผลผ่านอินเทอร์เน็ตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectเหมืองen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectพฤติกรรมการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการวิเคราะห์และพัฒนาการทำเหมืองข้อมูลพฤติกรรมการท่องเที่ยวเพื่อพยากรณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ภาคกลางen_US
dc.title.alternativeThe Analysis and Development of Data Mining of Tourism Behaviors to Predict the Tourism Industry in the Central Areaen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก560.23 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ899.21 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ47.28 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ2.02 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1624.89 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 29.64 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3941.18 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 416.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.37 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม912.23 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก4.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.