Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/986
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสมพิศ, เพิ่มพูล-
dc.contributor.authorPermpool, Somplt-
dc.date.accessioned2018-05-01T05:17:29Z-
dc.date.available2018-05-01T05:17:29Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/986-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมและจิตวิทยากับการร้องขอและไม่ร้องขอเข้ากองประจำการของทหารกองเกิน กลุ่มตัวอย่าง คือ ทหารกองเกินที่ร้องขอและไม่ร้องขอเข้ากองประจกการในพื้นที่มณฑลทหารบกที่14ประกอบด้วย4จังหวัดคือ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยะ จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราดจำนวน643คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม ลักษณะแบบสอบถามมีทั้งแบบสอบถามปลายปิด (close-ended) และแบบสอบถามปลายเปิด (open-ended) แบบสอบถามได้สร้างขึ้นโดยมีข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มตัวอย่างได้แก่ รายได้เฉพาะตัวของทหารกองเกินและบิดามารดารายได้ครอบครัว รายได้ครัวเรือนของบิดามารดาอายุ การศึกษาอาชีพ ของทหารกองเกินและบิดามารดา ความคิดเห็นต่อโครงการทหารกองเกินและอาชีพทหาร และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการร้องขอและไม่ร้องขอเข้ากองประจำการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ สถิติพรรณนาทั่วไปของประชากรคงใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นกับตัวแปรตามจะใช้สถิติ Chi-Sgguare สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจของทหารกองเกินมีความสัมพันธ์กับการร้องขอและไม่ร้องขอเข้ากองประจำการ พบว่า ทหารกองเกินที่มีรายได้ต่ำจะมีการร้องขอเข้ากองประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .02 แสดงว่ารายได้มีความสัมพันธ์กับการร้องขอเข้ากองประจำการ 2. ปัจจัยทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการร้องขอและไม่ร้องขอเข้ากองปรำจำการ พบว่า ทหารกองเกินอายุ 21-23ปี มีการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3และมัธยมศึกษาปีที่6มีอาชีพรับจ้างและรับราชการจะมีการร้องขอเข้ากองประจำการมากกว่าคนที่ไม่ร้องขอเข้ากองประจำการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แสดงว่าอายุการศึกษาอาชีพมีความสัมพันธ์กับการร้องขอและไม่ร้องขอเข้ากองประจำการ 3. ปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับการร้องขอและไม่ร้องขอเข้ากองประจำการ พบว่า ทหารกองเกินที่มีความคิดเห็นต่อโครงการทหารกองเกินในระดับสูงและมีความคิดเห็นต่ออาชีพทหารในระดับปานกลาง มีการร้องขอเข้ากองประจำการมากกว่าผู้ไม่ร้องขอฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.007 และ 0.002 ตามลำดับ แสดงว่า ความคิดเห็นต่อโครงการทหารกองเกินและความคิดเห็นต่ออาชีพทหาร มีความสัมพันธ์กับการร้องขอและไม่ร้องขอเข้ากองประจำการen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectเศรษฐกิจและสังคม,จิตวิทยา,ทหารกองเกิน,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตวิทยา กับการร้องขอและไม่ร้องขอเข้ากองประจำการของทหารกองเกินen_US
dc.title.alternativeThe Relationship Between Economic Social and Psychological Factors and Application or Non-Application For Regular Service of Registered Personnelen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก529.89 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ532.15 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ133.17 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ30.83 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.03 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.39 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 29.24 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.03 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.24 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5925.7 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม749.92 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก8.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.