Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1735
Title: การศึกษาวัสดุปลูกจากกาบกล้วยและขี้เลื่อย
Other Titles: Study on substrate culture from leaf sheaf of banana tree and sawdust
Authors: วงจันทร์, นุ่นคง
Nunkong, Wongjun
Keywords: กาบกล้วย
ขี้เลื่อย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำวัสดุปลูกจากกาบกล้วยและขี้เลื่อย ทำการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของวัสดุปลูกทั้ง 4 อัตราส่วนดังนี้ 1) 100:0 2) 75:25 3) 50:50 และ 4) 25:75 โดยน้ำหนัก ใช้ปริมาณวัสดุประสานกาวแป้งเปียกคงที่ และทำการทดลองในห้องปฏิบัติการของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ผลการศึกษาทางกายภาพ พบว่า ทุกอัตราส่วนสามารถขึ้นรูปเป็นวัสดุปลูกได้ และมีน้ำหนักแห้งเฉลี่ยอยู่ในช่วง 121.10-130.08 กรัมต่อก้อน โดยมีค่าความหนาแน่นรวมมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันอยู่ในช่วง 0.27–0.29 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร (ก่อนการรดน้ำ) ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ค่าการดูดซึมน้ำในอัตราส่วนที่ 4 มีค่าสูงที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 299.98 และอัตราส่วนที่ 2 มีค่าน้อยที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 217.40 โดยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับอัตราส่วนที่ 1 (ร้อยละ 254.99) และ 3 (ร้อยละ 252.98) แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการดูดซึมน้ำและอุ้มน้ำของตัววัสดุปลูกได้ดี และค่าการสลายตัวในน้ำในอัตราส่วนที่ 1 สูงที่สุด เฉลี่ยร้อยละ 16.75 และอัตราส่วนที่ 3 เฉลี่ยร้อยละ 14.56 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ สำหรับผลการศึกษาทางเคมี พบว่า ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ของวัสดุปลูกอยู่ในช่วงที่เหมาะสมถึงช่วงความเป็นกรดจัด โดยค่า pH ที่เหมาะสมกับพืช คือ อัตราส่วนที่ 4 (6.38) อัตราส่วนที่ 3 (5.89) และ 2 (5.71) มีค่าอยู่ในช่วงกรดปานกลาง ซึ่งมีความเป็นกรดเกินไปสำหรับพืชบางชนิด และอัตราส่วนที่ 1 (4.78) มีค่าความเป็นกรดจัด จะมีพืชบางชนิดเท่านั้นที่ทนได้ จากค่าการนำไฟฟ้า (EC) ของวัสดุปลูกส่วนใหญ่มีค่าความเค็มสูง โดยเฉพาะอัตราส่วนที่ประกอบด้วยกาบกล้วยเพียงชนิดเดียวมีค่า 7.23 dS/m และเมื่อปริมาณกาบกล้วยลดลง ค่า EC จะมีค่าลดลงตามอัตราส่วนที่ 2 3 และ 4 (4.45, 2.67, 1.70 dS/m) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณธาตุไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) พบว่า ปริมาณธาตุ K พบมากที่สุดในทุกอัตราส่วน อยู่ในช่วงร้อยละ 0.99-4.93 เนื่องจากในทุกอัตราส่วนมีองค์ประกอบของกาบกล้วยซึ่งเป็นแหล่งของธาตุชนิดนี้ และอัตราส่วนที่ 1 มีธาตุอาหารสูงกว่าอัตราส่วนอื่นๆ ส่วนธาตุ N มีค่าอยู่ในช่วงร้อยละ 0.09-0.46 และธาตุ P อยู่ในช่วงร้อยละ 0.05-0.35 เท่านั้น ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติต่างๆ แล้ว อัตราส่วนที่ 3 จึงมีความเหมาะสมที่สุดในการนำไปใช้เป็นวัสดุปลูก เนื่องจากมีค่า pH และ EC ไม่สูงจนเป็นอันตรายต่อพืชเกินไป และสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1735
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก145.02 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ275.9 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ154.12 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ251.26 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1411.72 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2935.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3502.05 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4732.05 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5289.72 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม352.21 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก839.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.