Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1072
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิตยา, ยุวัฒนะกุล-
dc.contributor.authorYuwattanakul, Nitaya-
dc.date.accessioned2018-09-28T07:29:52Z-
dc.date.available2018-09-28T07:29:52Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1072-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนมัธยมศึกษา และเปรียบเทียบสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาจารย์ของโรงเรียนกรมสามัญศึกษา กลุ่มที่ 7 กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 47 คน และครูอาจารย์จำนวน 239 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กลุ่มที่ 7 กรุงเทพมหานคร มีสภาพปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีปัญหาระดับมาก 3 ด้าน คือ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านการจัดการตามลำดับ ส่วนด้านเทคโนโลยี มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 2.ความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กลุ่มที่ 7 กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีความต้องการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน 3.การเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กลุ่มที่ 7 กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาจารย์เกี่ยวกับสภาพปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาจารย์ เกี่ยวกับสภาพปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการจัดการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆ อีก 3 ด้านไม่แตกต่างกัน 4.การเปรียบเทียบความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กลุ่มที่ 7 กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นของผู้บริหารและครูอาจารย์ เกี่ยวกับความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องการด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยีและด้านการจัดการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านงบประมาณไม่แตกต่างกัน 5.สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารและครูอาจารย์ พบว่า โรงเรียนควรมีแผนการพัฒนาผู้บริหารและครูอาจารย์ ให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนดลยีสารสนเทศ เพื่อแสวงหาความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนควรส่งเสริมให้มีการนำสื่อเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอน จัดหาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่อความต้องการ ส่งเสริมสนับสนุนและจัดอบรมผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนให้มีความรู้ในการเขียนโปรแกรมสำหรับการบริหารงานการศึกษา เพื่อจะได้โปรแกรมที่ตรงกับความต้องการของโรงเรียนen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศ,โรงเรียนมัธยมศึกษา,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนมัธยมศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนกรมสามัญศึกษากลุ่มที่ 7 กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeProblems and Needs for the Application of Information Technology of the Secondary School : A Case Study the School in Group 7 in Bangkok under the Jurisdiction of General Education Departmenten_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก730.61 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ396.14 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.99 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ462.2 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.99 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 13.84 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 220.2 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.66 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 411.24 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 54.16 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.45 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก5.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.