Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1103
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพนมพร, ปิยธรรมาภรณ์-
dc.contributor.authorPiyatunmaporn, Panomporn-
dc.date.accessioned2018-10-11T04:18:12Z-
dc.date.available2018-10-11T04:18:12Z-
dc.date.issued2004-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1103-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1)ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (2)เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (3)ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มโรงเรียน กรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 8 จำแนกเป็นผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 376 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 361 คน รวม 737 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยได้ สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และทดสอบหาความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิต ใช้การทดสอบหาค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1)การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในภาพรวม ทั้งผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้านการจัดการเรียนรู้ของครูและการวัดผลประเมินผลการเรียนอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการจัดการสนับสนุนของโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกพิจารณาความพึงพอใจของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความพึงพอใจในภาพรวมและรายด้าน ทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความพึงพอใจในภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (2)เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า มีความแตกต่างกันทั้งภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (3)การศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ในด้านการจัดการสนับสนุนของโรงเรียน ผู้เรียนมีความพึงพอใจระดับค่อนข้างน้อยในเรื่อง การจัดบริการสื่อเทคโนโลยีความพิวเตอร์ การบริการสือวัสดุอุปกรณ์ การบริการหนังสือหลากหลายเพื่อการค้นคว้า และเสนอแนะให้โรงเรียนจัดให้ผู้เรียนเลือกเรียนวิชาเลือก (เพิ่มเติม) อย่างหลากหลายตามความถนัด จัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้ร่มรื่นสวยงาม จัดสภาพห้องเรียนให้น่าอยู่น่าเรียน เพิ่มกิจกรรมด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ และนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสืบค้นข้อมูลให้มากขึ้น ในด้านการจัดการเรียนรู้ของครู ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับค่อนข้างน้อยในเรื่อง การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ การใช้แหล่งเรียนรู้เชื่อมโยงกับชีวิตจริงและเสนอแนะให้ผู้สอนลดการมอบหมายงานของทุกรายวิชาลง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้หลากหลายน่าเรียนและให้ผู้สอนอธิบายความรู้เพิ่มเติมเพื่อจะได้เข้าใจได้ขัดเจนขึ้น ในด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน ผู้เรียนมีความพึงพอใจระดับค่อนข้างน้อยในเรื่อง การให้ผู้เรียนมีส่วนในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน การมีส่วนในการประเมินผลงานของตนเองและเพื่อน รวมทั้งการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมิน และเสนอแนะให้ให้ผู้สอนให้ความสำคัญต่อการประเมินระหว่างการเรียนมากกว่าการสอบ ควรแจ้งผลการประเมินให้ผู้เรียนทราบโดยให้โอกาสปรับปรุงแก้ไขผลงานเพื่อเพิ่มคะแนนได้ และควรดูแลเอาใจใส่ผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เพื่อให้เข้าใจและแก้ไขตนเองให้ผ่านเกณฑ์การประเมินen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการศึกษาen_US
dc.subjectความพึงพอใจen_US
dc.subjectการจัดการเรียนรู้en_US
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มโรงเรียนกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 8en_US
dc.title.alternativeThe Study of Learner's Statisfaction toward Child-Centered Learning Arrangement in the Secondary School, Group of Schools in the Education Department, Bangkok Metropolis, Group 8en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก763.87 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ443.97 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ2.31 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ564.38 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.38 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 14.67 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 256.71 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 35.08 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 418.45 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 520 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม6.43 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก7.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.