Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1190
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมาโนชญ์, โรจนสิริ (บุญมานิตย์)-
dc.contributor.authorRojanasiri (Boonmanich), Phra Manoch-
dc.date.accessioned2018-11-16T09:40:11Z-
dc.date.accessioned2018-11-16T09:40:20Z-
dc.date.available2018-11-16T09:40:11Z-
dc.date.available2018-11-16T09:40:20Z-
dc.date.issued2004-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1190-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องนี้ เพื่อ 1)ศึกษาภูมิปัญญาในการทำสวนมะพร้าวและผลิตน้ำตาลมะพร้าวของเกษตรกรชาวสวน 2)ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวสวนผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าว ในเขตตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ 3)ศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์วิถีชีวิตของเกษตรกรชาวสวนตามความคิดเห็นของชาวสวนและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ประชากรของการวิจัย ได้แก่ เกษตรกรชาวสวนผู้ยังคงผลิตน้ำตาลมะพร้าวอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 8 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน สำหรับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เกษตรกรชาวสวนผู้เคยผลิตน้ำตาลมะพร้าว แต่ปัจจุบันไม่ได้ผลิตแล้ว จำนวน 53 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด ประกอบไปด้วย 1)แบบสัมภาษณ์เกษตรกรชาวสวนผู้ยังคงประกอบอาชีพผลิตน้ำตาลมะพร้าวอยู่ในปัจจุบัน 2)แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ผู้เคยมีอาชีพผลิตน้ำตาลมะพร้าว แต่ปัจจุบันไม่ได้ผลิตแล้ว และ 3)แบบสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูล กระทำโดยการสังเคราะห์คำตอบที่ได้จากการสัมภาษณ์พร้อมกับนำมาตรวจสอบกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตพฤติกรรมการทำสวนแและการผลิตน้ำตาลมะพร้าวก่อนสรุปผลตามกรอบแนวคิดของการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ลุ่มน้ำแม่กลองมีสภาพพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนเกือบทั้งหมดประกอบอาชีพทำสวนมะพร้าว ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของเกษตรกรชาวสวนตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ทำให้มีผลผลิตที่เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงชีวิตของสมาชิกในครอบครัว การผลิตน้ำตาลมะพร้าวเพื่อการบริโภค และการจำหน่ายเป็นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดให้กับลูกหลาน ซึ่งเกษตรกรชาวสวนบางครอบครัวรับไว้เป็นวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตสืบมาจนถึงปัจจุบัน การทำสวนมะพร้าวจะเริ่มจากการคัดเลือกพันธุ์มะพร้าวที่ดีซึ่งมี 3 สายพันธุ์ เพื่อนำมาปลูกและผลิตน้ำตาลมะพร้าว ได้แก่ มะพร้าวพันธุ์ใหญ่ มะพร้าวกลาง และมะพร้าวพันธุ์เตี้ย โดยทำแปลงยกร่องสำหรับเพาะพันธุ์ ก่อนที่จะนำไปปลูกในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน หลังการปลูกแล้วเกษตรกรจะต้องดูแลรักษาตลอดทั้งปี มีการขุดลอกท้องร่องปีละ 1 ครั้งและใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง พอมะพร้าวอายุได้ 4 ปีขึ้นไป เกษตรกรชาวสวนก็จะเก็บผลผลิตได้ การผลิตน้ำตาลมะพร้าว มีอยู่ 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ การเก็บผลผลิตน้ำตาลใส ซึ่งเกษตรกรชาวสวนจะได้จากการปาดงวงหรือจั่นมะพร้าวเพื่อให้น้ำตาลไหลออกมา จากนั้นจึงทำการแปรรูปน้ำตาลใสให้เป็นน้ำตาลปี๊บหรือน้ำตาลปึก โดยเกษตรกรจะนำน้ำตาลใสมาเคี่ยวให้แห้ง สำหรับคุณค่าของน้ำตาลมะพร้าวนั้น พบว่า ประชาชนไทยโดยทั่วไปจะนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยทั้งอาหารคาวและหวานหลายชนิด ส่วนประโยชน์ของมะพร้าวนั้นมีหลายประการ เนื้อมะพร้าว นำไปรับประทานเป็นอาหาร และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทางมะพร้าวนำมาทำฝาเรือน ต้นนำมาแปรรูปเป็นโต๊ะและสิ่งของเครื่องใช้หลายชนิด การทำสวนมะพร้าวมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวสวนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นอาชัพที่สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว และเป็นอาชีพเก่าแก่ของบรรพบุรุษ เกษตรกรชาวสวนที่ยังผลิตน้ำตาลมะพร้าวมีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรมีความภูมิใจในอาชีพที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ มีการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นและมีการรวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมของหมู่บ้าน เกษตรชาวสวนผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าว ยังต้องการอนุรักษ์อาชีพของตนไว้ ต้องการให้ประชาชนสนับสนุนช่วยซื้อผลผลิตของตน นอกจากนี้เกษตรกรชาวสวนได้ชักจูงให้บุตรหลานที่ไม่มีงานทำให้หันมาประกอบอาชีพทำสวนและผลิตน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้าน และต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมาให้คำแนะนำ และส่งเสริมการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ข้อมูลจากเกษตรกรชาวสวนผู้เคยมีอาชีพผลิตน้ำตาลมะพร้าว แต่ปัจจุบันไม่ได้ผลิตแล้ว พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวสวน ได้แก่ 1)นโยบายการพัฒนาการศึกษาของรัฐที่ต้องการให้เยาวชนได้เรียนหนังสือภาคบังคับมากขึ้น 2)การขาดแคลนแรงงานในการผลิตน้ำตาลมะพร้าว 3)การเกิดขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ผู้คนหันไปประกอบอาชีพใหม่ 4)การติดต่อสื่อสารและการคมนาคมที่สะดวกสบาย ทำให้เกษตรกรชาวสวนรุ่นใหม่นิยมวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองมากขึ้น จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้นำท้องถิ่น พบว่า ยังคงเห็นความสำคัญของอาชีพการทำสวนมะพร้วและการผลิตน้ำตาลมะพร้าว เนื่องจากเป็นอาชีพดั้งเดิมและเป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภออัมพวา จึงได้เข้าไปสนับสนุนโดยวิธีการต่างๆ เช่น การปลูกจิตสำนึกให้เกษตรกรรักอาชีพ การสนับสนุนด้านเงินทุน การจัดหาพันธุ์มะพร้าวที่ดีให้กับเกษตรกร มีการออกใบรับรองคุณภาพของน้ำตาลที่ผลิตโดยเกษตรกรชาวสวน เพื่อให้ตลาดผู้บริโภคเชื่อถือและสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าว พบว่า มีปัญหาด้านค่านิยมในการส่งเสริมให้บุตรหลานได้รับการศึกษาสูงขึ้น เพื่อจะได้ไม่ต้องทำสวนซึ่งเป็นอาชีพที่เหนื่อยยาก ปัญหาการขาดการรวมตัวกันของเกษตรกร ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภายในครัวเรือน ปัญหาการปลอมปนน้ำตาลมะพร้าว ปัญหาด้านการตลาดของผลผลิตน้ำตาลมะพร้าว และปัญหาแมลงศัตรูพืชที่ทำลายต้นมะพร้าวen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectเกษตรกรen_US
dc.subjectน้ำตาลมะพร้าวen_US
dc.subjectชาวสวนen_US
dc.subjectสมุทรสงครามen_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเกษตรกรชาวสวนผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าว : กรณีศึกษาชาวสวนในเขตตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามen_US
dc.title.alternativeFactors affecting the change in the livelihood of the farmers who produced coconut sugar : A Case study of the farmers in Muang Mai sub-district, Amphawa district, Samut Songkhram provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก741.91 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ431 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ3.69 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ614.98 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.9 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 16.36 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 234.75 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 33.44 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 435.55 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 59.89 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม5.1 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก10.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.