Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1507
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกฤติกา, ชูผล-
dc.contributor.authorChoophol, Krittika-
dc.date.accessioned2019-08-16T08:27:26Z-
dc.date.available2019-08-16T08:27:26Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1507-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวจีนที่ใช้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ และเพื่อศึกษาสาเหตุข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในการสื่อสารระหว่างคู่สนทนาชาวไทยและชาวจีน โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้บอกภาษาชาวจีนที่ใช้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศในติดต่อสื่อสารกับชาวไทย จำนวน 30 คน ทั้งจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่าข้อบกพร่องในด้านหลักการใช้ภาษาจำนวนทั้งสิ้น 65 สถานการณ์ พบการปรากฏจากมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ อันดับที่ 1 ข้อบกพร่องด้านการใช้คำผิดความหมาย (ร้อยละ 30.77) รองลงมาคือ ข้อบกพร่องด้านการสลับที่คำ (ร้อยละ13.85) ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงพยัญชนะต้นผิด (ร้อยละ 12.30) ข้อบกพร่องด้านการวางรูปประโยคผิด และข้อบกพร่องด้านการใช้สระผิด มีจำนวนเท่ากัน (ร้อยละ 10.77) ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงพยัญชนะท้ายผิด (ร้อยละ 9.23) ข้อบกพร่องด้านการออกเสียงวรรณยุกต์ผิด (ร้อยละ 7.69) และอันดับสุดท้ายมีจำนวนเท่ากันคือ ข้อบกพร่องด้านการใช้คำที่มีความหมายซ้ำกัน ข้อบกพร่องด้านการใช้คำสรรพนามไม่เหมาะสม และข้อบกพร่องด้านการใช้คำลักษณนามผิด (ร้อยละ 1.54) ข้อบกพร่องในการสื่อเจตนาทั้งสิ้น 12 สถานการณ์ พบการสื่อเจตนาผิดแบบไม่ข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม (ร้อยละ 58.34) และการสื่อเจตนาผิดแบบข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม (ร้อยละ41.67) ส่วนข้อบกพร่องด้านการตีความเจตนาทั้งสิ้น 7 สถานการณ์ พบการตีความเจตนาผิดแบบไม่ข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม (ร้อยละ 14.29) และรองลงมาคือการตีความเจตนาผิดแบบข้ามจุดมุ่งหมายวัจนกรรม (ร้อยละ 85.72) นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวจีนที่ใช้ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเนื่องมาจากการถ่ายโอนทางวัจนปฏิบัติ ซึ่งจำแนกได้เป็นการถ่ายโอนเชิงบวก และการถ่ายโอนเชิงลบ มโนทัศน์เรื่องระยะห่างทางอำนาจ และมโนทัศน์เรื่องความสุภาพกับอุปลักษณ์เรื่อง ‘หน้า’en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectวัจนปฏิบัติศาสตร์en_US
dc.subjectการสื่อสารen_US
dc.subjectวัฒนธรรมจีนen_US
dc.subjectภาษาไทยen_US
dc.subjectภาษาต่างประเทศen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleข้อบกพร่องเชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวจีนที่พูดภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศen_US
dc.title.alternativePragmatic Failure in Intercultural Communication of Chinese Speakers Who Have Thai as a Foreign Languageen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก95.53 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ246.4 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ92.72 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ122.93 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1243.43 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2727.49 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3226.3 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4902.79 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5215.75 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม308.2 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก272.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.