Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1596
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกนก, พานทอง-
dc.contributor.authorPanthong, Kanok-
dc.contributor.authorปิยะทิพย์, ประดุจพรม-
dc.contributor.authorPradujprom, Piyathip-
dc.date.accessioned2019-09-13T09:08:10Z-
dc.date.available2019-09-13T09:08:10Z-
dc.date.issued2019-01-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1596-
dc.identifier.urihttps://research.dru.ac.th/o-journal/index.php?url=abstract.php&abs_id=522&jn_id=30en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบรูปแบบคลื่นไฟฟ้าสมองของนักเรียนขณะทำกิจกรรมแบบทดสอบเลขคณิต วัดมิติกระบวนการทางปัญญา ทั้ง 3 ด้าน (ด้านจำ ด้านเข้าใจ และด้านประยุกต์) จำแนกตามเพศของนักเรียน และความสามารถของนักเรียน และ 2) ศึกษาผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศของนักเรียนและความสามารถของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบคลื่นไฟฟ้าสมองของนักเรียน ขณะทำกิจกรรมแบบทดสอบเลขคณิตกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (เรียนเนื้อสาระวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มาแล้ว) โรงเรียนปรีชานุศาสน์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มเก่ง และกลุ่มอ่อน กลุ่มละเท่า ๆ กัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองสอบถามในเรื่องเพศ สุขภาพ และมีการมองเห็นปกติ 2) แบบประเมินความถนัดในการใช้มือขวาของOldield (1971) 3) แบบทดสอบเลขคณิต วัดมิติกระบวนการทางปัญญา ทั้ง 3 ด้าน 4) กิจกรรมการทดสอบด้านเลขคณิต วัดมิติกระบวนการทางปัญญา ทั้ง 3 ด้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมทดสอบผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม Stim2 5) เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) โดยใช้เครื่องขยายสัญญาณ SynAmps RT และหมวก QuikCap แบบ 64 ช่องสัญญาณ 6) เครื่องคอมพิวเตอร์ ซีพียู Intel core i5-2400 (3.1 GHz) ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP Professional วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และ Two-Way MANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า ความสูงและความกว้างของคลื่น P300 ขณะทำกิจกรรมการทดสอบด้านเลขคณิต วัดมิติกระบวนการทางปัญญา ทั้ง 3 ด้าน จำแนกตามความสามารถของนักเรียน และเพศของนักเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บริเวณจุดอิเล็กโทรด FT8 F2 F6 FC3 FC1 FCZ FC2 FC4 CP2 CP4 CP6 C5 C3 C1 CZ C2 C6 TP7 TP8 T7 T8 CP6 P5 P3 P1 PZ P2 P4 P6 P8 PO7PO5 PO3 POZ PO4 PO6 PO8 OZ และ O2 ถ้าจำแนกตามความสามารถของนักเรียน ปรากฏว่า ด้านจำ กลุ่มเก่งมีความสูงของคลื่น P300 สูงกว่ากลุ่มอ่อน แต่มีบางจุดอิเล็กโทรดพบว่า ด้านจำ และด้านเข้าใจ กลุ่มอ่อนมีความสูงของคลื่น P300 สูงกว่ากลุ่มเก่ง และยังพบว่า ด้านประยุกต์ กลุ่มเก่งมีความกว้างของคลื่น P300มากกว่ากลุ่มอ่อน แต่เมื่อจำแนกตามเพศของนักเรียน ปรากฏว่า ด้านจำ ด้านเข้าใจ และด้านประยุกต์เพศหญิงมีความสูงของคลื่น P300 สูงกว่าเพศชาย แต่มีบางจุดอิเล็กโทรด พบว่า ด้านเข้าใจ เพศชายมีความสูงของคลื่น P300 สูงกว่าเพศหญิง และยังพบว่า ด้านจำ ด้านเข้าใจ และด้านประยุกต์ เพศหญิงมีความกว้างของคลื่น P300 มากกว่าเพศชาย นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ ความแปรปรวนพหุคูณแบบสองทาง ยังชี้ให้เห็นว่ามีผลปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างความสามารถของนักเรียน และเพศของนักเรียนต่อความสูง และความกว้างคลื่นP300 ด้านจำ และด้านเข้าใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 บริเวณจุดอิเล็กโทรด FC4 FC6 F2 F6 C3 C1 C4 C6 P1 และ P7en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project.en_US
dc.subjectคลื่นไฟฟ้าสมองen_US
dc.subjectแบบทดสอบคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้าสมองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขณะทำแบบทดสอบด้านเลขคณิตen_US
dc.title.alternativeA Comparison of Seventh Grade Students’ Brian Wave Patterns During Arithmetic Testingen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.