Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1624
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศักดิ์, หมู่ธิมา-
dc.contributor.authorMootima, Sak-
dc.contributor.authorบุญเอื้อ, บุญฤทธิ์-
dc.contributor.authorBoonyarit, Boonau-
dc.date.accessioned2020-05-22T03:33:56Z-
dc.date.available2020-05-22T03:33:56Z-
dc.date.issued2019-07-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1624-
dc.identifier.urihttps://research.dru.ac.th/o-journal/index.php?url=abstract.php&abs_id=588&jn_id=31en_US
dc.description.abstractการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติดในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตสวนหลวง เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการแพร่ระบาดของยาเสพติดมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นในกลุ่มเยาวชนและสภาพการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมการดำเนินงานหลายองค์กร โดยมีสมาชิกสภาเขตสวนหลวง ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชุมชนเป็นแกนนำในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สนับสนุนการสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน มีการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนตนเอง 2) การจัดการป้องกันปัญหายาเสพติดแบบมีส่วนร่วมชองชุมชน พบว่าการสนับสนุนจากภาครัฐไม่ตรงตามต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ขาดความต่อเนื่อง ขาดการประสานที่ดี มีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมในการจัดเวทีประชาคมแต่มีแนวทางการปฏิบัติที่ไม่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ยังขาดองค์ความรู้และทักษะในการดำเนินงานในชุมชนแต่ละประเภทและ 3) แนวทางการจัดการดำเนินการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมีการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่มีความยั่งยืน โดยวิเคราะห์สภาพปัญหา ระดมทรัพยากรด้านบุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ เครื่องมืออย่างเหมาะสม มีการดำเนินงานแบบผสมผสานปรับปรุงให้เหมาะสมสอดคล้องตามสภาพ และมีการบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด โดยการใช้หลักธรรมทางศาสนาเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดยาเสพติดเพื่อให้แก้ไขปัญหาในทางที่ถูกต้องและไม่กลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีกต่อไป โดยเน้นบทบาทภาคประชาชนเป็นหลักในการดำเนินงาน ส่วนภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project.en_US
dc.subjectยาเสพติดen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด ในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาเขตสวนหลวงen_US
dc.title.alternativeCommunity-Based Participatory Management of Drug Abuse Prevention in Bangkok : Case Study in Suanluang Districten_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.