Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1625
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเพ็ญศรี, เทียมสุข-
dc.contributor.authorThiamsuk, Pensri-
dc.contributor.authorเชษฐ์, ศิริสวัสดิ์-
dc.contributor.authorSirisawat, Chade-
dc.contributor.authorไพรัตน์, วงษ์นาม-
dc.contributor.authorWongnam, Pairat-
dc.date.accessioned2020-05-22T03:43:37Z-
dc.date.available2020-05-22T03:43:37Z-
dc.date.issued2019-07-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1625-
dc.identifier.urihttps://research.dru.ac.th/o-journal/index.php?url=abstract.php&abs_id=590&jn_id=31en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการประมาณค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนกของข้อสอบ (a) ค่าพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบ (b) ค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบ () ด้วยวิธี Maximum likelihood วิธี Bayesian และ วิธี Confirmatory factor analysis 2) เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบใช้กับนักเรียนจำแนกตามเพศ และสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของโรงเรียน ด้วยวิธี IRT-likelihood ratio วิธี Bayesian และวิธี Multiple group CFA กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เข้าทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2558 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จำนวน 2,400 คน จำแนกเป็นเพศชาย และเพศหญิง ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และนอกเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนกของข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ และภาษาไทยทั้งสามวิธี มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า วิธี Maximum likelihood และวิธี Confirmatory factor analysis มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิธี Bayesian มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางค่อนข้างน้อยกับวิธี Maximum likelihood และวิธี Confirmatory factor analysis อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบวิชาภาษาไทยพบว่าทั้งสามวิธีมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความสามารถของผู้สอบวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาไทย พบว่า ทั้งสามวิธี มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) วิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า วิธี Bayesian ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบมากที่สุด และวิธี IRT-likelihood ratio ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบน้อยที่สุด เมื่อจำแนกตามเขตที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของโรงเรียน พบว่า วิธี Multiple group CFA ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบมากที่สุด และวิธี IRT-likelihood ratio ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบน้อยที่สุด ส่วนการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวิชาภาษาไทย เมื่อจำแนกตามเพศ และที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของโรงเรียน พบว่า วิธี Bayesian ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบมากที่สุด และวิธี Multiple group CFA ไม่พบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบเลยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project.en_US
dc.subjectการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบen_US
dc.subjectวิธีเบส์เซียนen_US
dc.subjectวิธีอัตราส่วนความควรจะเป็นen_US
dc.subjectวิธีองค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มพหุen_US
dc.titleการเปรียบเทียบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ด้วยวิธี IRT-likelihood ratio วิธี Bayesian และวิธี Multiple group CFAen_US
dc.title.alternativeA Comparison of Differential Item functioning by IRT-likelihood ratio, Bayesian and Multiple Group CFA Methoden_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.