Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1631
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเสกสรรค์, ตันยาภิรมย์-
dc.contributor.authorTonyapirom, Sakesan-
dc.contributor.authorปรัชญา, แก้วแก่น-
dc.contributor.authorKaewkaen, Pratchaya-
dc.contributor.authorพีร, วงศ์อุปราช-
dc.contributor.authorWongupparaj, Peera-
dc.date.accessioned2020-05-22T04:27:25Z-
dc.date.available2020-05-22T04:27:25Z-
dc.date.issued2019-07-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1631-
dc.identifier.urihttps://research.dru.ac.th/o-journal/index.php?url=abstract.php&abs_id=595&jn_id=31en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ทัศนธาตุทางศิลปะด้านสีของภาพลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์ 2) สร้างสรรค์ภาพใหม่โดยนำผลจากการวิเคราะห์ทัศนธาตุทางศิลปะด้านสีมาใช้ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของภาพที่สร้างสรรค์ โดยประเมินการรับรู้ทางอารมณ์และวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าสมองขณะดูภาพ อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองมีอายุระหว่าง 18-22 ปี เพศชายและหญิง จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ภาพที่ใช้ส่งเสริมอารมณ์ด้านบวก แบบประเมินอารมณ์ (Emotion Rating Scale) ผลการวิจัยปรากฏว่า ภาพที่นำมาใช้ในงานวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับอารมณ์ความสุขมากที่สุด รองลงมาคืออารมณ์ความหวัง และอารมณ์ความรัก ตามลำดับ การสร้างสรรค์ภาพที่สามารถทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ความสุขประกอบด้วยความสำคัญกับพื้นที่ ความสมบูรณ์และความลงตัวขององค์ประกอบ และการใช้สีที่มีค่ามุมเฉดสีอยู่ระหว่าง 76-146 องศา และค่าความสว่างของสีอยู่ระหว่าง 21-80 ภาพที่สอดคล้องกับอารมณ์ความหวัง ประกอบด้วยพื้นที่ว่าง มีทิศทางการเคลื่อนไหวระหว่างพื้นที่ว่างกับรูปทรงอย่างต่อเนื่อง และประกอบด้วยสีที่มีค่ามุมเฉดสีอยู่ระหว่าง 0-49 องศา และค่าความสว่างของสีอยู่ระหว่าง 21-80 และภาพที่สอดคล้องกับอารมณ์ความรัก สะท้อนให้เห็นถึงการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกันของพื้นที่ว่าง ระยะทาง ทิศทาง การเคลื่อนไหว รูปทรงของวัสดุ และรูปทรงมนุษย์ และประกอบด้วยสีที่มีค่ามุมเฉดสีอยู่ระหว่าง 0-41 และ 76-119 องศา และค่าความสว่างของสีอยู่ระหว่าง 21-80 จากการศึกษาประสิทธิผลของภาพที่สร้างสรรค์ ด้วยการประเมินการรับรู้ทางอารมณ์คะแนนเฉลี่ย (M) ของอารมณ์ที่ได้จากการดูภาพที่ส่งเสริมอารมณ์ความสุข ความหวัง และความรัก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ,4.08 และ 3.50 คะแนน และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 0.78 ,0.90 และ 0.80 คะแนน ตามลำดับ และวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าสมองของอารมณ์ด้านบวกทั้งสามด้าน (ความรัก ความสุข และความหวัง) พบว่าค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้าสัมบูรณ์ของสมองย่านอัลฟ่า ณ สมองส่วนหน้าฝั่งซ้ายมีค่าใกล้เคียงกันอยู่ระหว่าง 0.023 ถึง 0.024 และค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้าสัมบูรณ์ของสมองย่านอัลฟ่า ณ สมองส่วนหน้าฝั่งขวามีค่าเท่ากับ 0.013, 0.017 และ 0.016 ตามลำดับen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project.en_US
dc.subjectภาพศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์en_US
dc.subjectศิลปะด้านสีen_US
dc.subjectอารมณ์ด้านบวกen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการวิเคราะห์สีในงานจิตรกรรมลัทธิอิมเพรสชั่นนิสม์และการสร้างสรรค์ภาพที่ส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกen_US
dc.title.alternativeColor analysis in Impressionist Paintings and Creating Paintings to Promote Positive Emotionsen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.