Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/21
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจงพิศุทธิ์, เชิงฉลาด-
dc.contributor.authorCheongchalard, Jongpisoot-
dc.date.accessioned2017-07-13T09:01:43Z-
dc.date.available2017-07-13T09:01:43Z-
dc.date.issued2014-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/21-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานน้ำตาลจังหวัดกาญจนบุรี 2)เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานน้ำตาลจังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ พนักงานที่เป็นลูกจ้างประจำรายเดือนของโรงงานน้ำตาลจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 348 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) และกลุ่มที่สองคือ พนักงานระดับผู้บริหารของโรงงานน้ำตาลจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ เทคนิคการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1)พนักงานโรงงานน้ำตาลจังหวัดกาญจนบุรีมีคุณภาพชีวิตการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ในรายด้านพบว่า ด้านสังคมสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นอยู่ในระดับสูง คือ ความเป็นกันเองกับเพื่อนร่วมงาน นอกนั้นทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2)พนักงานที่มีเพศ และสถานภาพสมรสต่างกันมีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ พบว่า พนักงานที่มีสถานภาพสมรสและหย่า มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยภาพรวมมากกว่าพนักงานที่มีสถานภาพโสดและแยกกันอยู่ และพนักงานที่มีระดับการศึกษา ต่างกันมีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ พบว่าพนักงานที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยภาพรวมมากกว่าพนักงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และระดับอนุปริญญา/ปวส. และ 3)แนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานน้ำตาลจังหวัดกาญจนบุรีคือ ควรมีหลักประกันหลังปลดเกษียณ ควรปรับตำแหน่งหรือขึ้นเงินเดือนตามความรู้ ความสามารถ และจัดทำแผนอัตราก้าวหน้าของตำแหน่งและเกณฑ์ปรับเงินเดือนเพื่อให้พนักงานมีโอกาสก้าวหน้าในงาน ควรลงทุนจัดวางระบบป้องกันอุบัติภัยฉุกเฉินในโรงงานตามมาตรฐานสากลเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพ ควรจัดให้พนักงานไปอบรม ฝึกทักษะและความชำนาญเฉพาะทางทั้งภายในและภายนอกโรงงาน ควรจัดให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนา นันทนาการด้านกีฬาและท่องเที่ยว และควรมอบหมายงานให้เหมาะสมและเป็นธรรมเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงาน - วิจัยen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตการทำงาน - ไทย - กาญจนบุรีen_US
dc.titleคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงงานน้ำตาล จังหวัดกาญจนบุรีen_US
dc.title.alternativeQuality of Work Life of Employees in Sugar Mill, Kanchanaburi Provinecen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก326.69 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ323.26 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ121.58 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ374.4 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ493.19 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1738.37 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 210.39 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.24 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 45.6 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 54.01 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม992.19 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.