Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/32
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธัชพงศ์, กระตือหน-
dc.contributor.authorKraturhon, Tuchapong-
dc.date.accessioned2017-07-14T07:36:49Z-
dc.date.available2017-07-14T07:36:49Z-
dc.date.issued2014-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/32-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ต้องขังต่อการบริหารงานราชทัณฑ์ ฝ่ายจำแนกผู้ต้องขัง ฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ ฝ่ายฝึกวิชาชีพ และฝ่ายทัณฑปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เรือนจำ จังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ต้องขังต่อการบริหารงานราชทัณฑ์ฝ่ายจำแนกผู้ต้องขัง ฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ ฝ่ายฝึกวิชาชีพ และฝ่ายทัณฑปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามสภาพส่วนบุคคล ด้านอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ถูกขังมาแล้ว ระยะเวลาที่ต้องถูกขังทั้งหมด และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนก่อนถูกขัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดนนทบุรี จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่น 0.7359 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ต้องขังมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานราชทัณฑ์ ฝ่ายจำแนกผู้ต้องขังฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจ ฝ่ายฝึกวิชาชีพ และฝ่ายทัณฑปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เรือนจำ จังหวัดนนทบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าฝ่ายจำแนกผู้ต้องขังเจ้าหน้าที่มีความรู้และประสบการณ์ในการจำแนกผู้ต้องขังและปฏิบัติหน้าที่เป็นข้าราชการที่ดีของเรือนจำ ฝ่ายการศึกษาและพัฒนาจิตใจมีการจัดฝึกอบรมและพัฒนาจิตใจ และศีลธรรม ศึกษาเล่าเรียนตามความประสงค์ของผู้ต้องขัง ฝ่ายฝึกวิชาชีพเจ้าหน้าที่มีการจัดฝึกวิชาชีพตามระบบที่เรือนจำจัดให้ ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ มีการชี้แจงการกระทำผิดต่างๆ อย่างละเอียดเพื่อประโยชน์แก่ผู้ต้องขังเมื่อปฏิบัติดีหรือประพฤติดี 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นของผู้ต้องขังต่อการบริหารงานราชทัณฑ์ของเจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดนนทบุรี พบว่า ผู้ต้องขังที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในฝ่ายจำแนกผู้ต้องขังมีการสอบประวัติอย่างละเอียดทำให้สามารถจำแนกผู้ต้องขังได้อย่างเหมาะสม ฝ่ายฝึกวิชาชีพเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำวิชาชีพทำให้มีความเข้าใจเป็นอย่างดี ฝ่ายทัณฑปฏิบัติเจ้าหน้าที่มีการวางตนได้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectการบริหารงานราชทัณฑ์ - คู่มือen_US
dc.titleความคิดเห็นของผู้ต้องขังการบริหารราชทัณฑ์ ของเจ้าหน้าที่เรือนจำจังหวัดนนทบุรีen_US
dc.title.alternativeOpinions of the prisoners on the administrative of the corrections officer in the Nonthaburi provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก351.68 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ332.49 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ96.01 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ20.49 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ386.01 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1533.54 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 28.56 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3756.46 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 414.08 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 51.93 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม94.94 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก756.57 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.