Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/442
Title: ปัจจัยที่มีสัมพันธ์กับกระทำความผิดคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางสมุทรปราการ
Other Titles: Factors Relating to Illegal Behaviors Regarding Drug Problems of Prisoners in Samutprakan Central Prison
Authors: ปราสาท, สินประโคน
Sinprakhon, Prasat
Keywords: ยาเสพติด - วิจัย
ยาเสพติด - กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
นักโทษ
Issue Date: 2012
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการกระทำความผิดคดียาเสพติด ของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางสมุทรปราการ 2) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำความผิด ของผู้ต้องขังคดียาเสพติด 3) เปรียบเทียบการกระทำความผิดคดียาเสพติดของผู้ต้องขัง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางครอบครัว ปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อม และปัจจัยทางเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ต้องขังในเรือนจำกลางสมุทรปราการที่กระทำความผิดคดียาเสพติด จำนวนทั้งสิ้น 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น .95 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไคแสควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การกระทำความผิดคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางสมุทรปราการ ในฐานจำหน่ายมีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.56 รองลงมา คือฐานครอบครองเพื่อจำหน่าย ฐานเสพและฐานครอบครอง ซึ่งมีร้อยละ 41.56, 8.12 และ 3.75 ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำความผิดคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางสมุทรปราการ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งพบว่า ผู้ต้องขังร้อยละ 67.2 เป็นชาย มีอายุระหว่าง 18-40 ปี ร้อยละ 90.9 มีการศึกษาไม่เกินมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 67.6 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 55.0 ปัจจัยทางครอบครัว พบว่า เป็นผู้ที่มีบิดามารดาอยู่ร่วมกันมากที่สุด ร้อยละ 39.4 สมาชิกในครอบครัวมีความเข้าใจกันดี และเลี้ยงดูแบบปล่อยให้เป็นอิสระมากที่สุดร้อยละ 55.3 ส่วนบุคคลที่พูดคุยเมื่อมีปัญหามากที่สุดคือพ่อแม่ ร้อยละ 41.6 ปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อม พบว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีเพื่อนบ้านให้การยอมรับ ร้อยละ 67.5 มีที่พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรรและสภาพแวดล้อมมีแหล่งมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่น ร้อยละ 72.2 และปัจจัยทางเศรษฐกิจ พบว่า ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างมากที่สุดร้อยละ 58.4 มีรายจ่ายเฉลี่ย 5,001-10,000 บาท มากที่สุดร้อยละ 44.7 และอยากได้สิ่งของมีค่าแต่รายได้ไม่เพียงพอและต้องการได้เงินมาเพื่อสร้างฐานะ ร้อยละ 61.3 3) เปรียบเทียบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกระทำความผิดของผู้ต้องขัง พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุเพียงด้านเดียวเท่านั้น ที่สัมพันธ์กับการกระทำความผิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่เหลือไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทำความผิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) ความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะในแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ต้องควบคุมไม่ให้ตนเองไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ด้านปัจจัยทางครอบครัว หัวหน้าครอบครัวต้องเอาใจใส่ดูแลและให้ความอบอุ่นกับสมาชิก ปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อม ต้องไม่ให้มีแหล่งมั่วสุมในชุมชน และ ด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ ต้องแก้ไขปัญหาหนี้สินของบุคคล
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/442
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก356.49 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ359.34 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ523.48 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ50.07 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.22 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.66 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 216.34 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3555.75 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 45.07 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 52.04 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม927.16 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.