Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/482
Title: ความพึงพอใจในการใช้ยาสมุนไพรของประชาชนในตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
Other Titles: The Satisfaction of the People in Ta-Wung Subdistrict, Ta-Wung District, Lop Bure Province in Using Herbal Medicines
Authors: พระปลัดวีระนนท์, เจริญราช
Charernraj, Phraparad Veeranon
Keywords: ยาสมุนไพร - วิจัย
Issue Date: 2007
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักาณะทางประชากร ความรู้ เจตคติ พฤติกรรมและความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้ยาสมุนไพรและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้ยาสมุนไพร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่ใช้ยาสมุนไพรในตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี จำนวน 250 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมู่ลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามี ศึกษาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุที่ตอบมากที่สุด 26-35 ปี ระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่างคือ ปริญญาตรี มีอาชีพ รับราชการ รายได้อยู่ในระดับมากกว่า 12,000 บาท และระยะเวลาที่ใช้ยามสมุนไพร คือ ต่ำกว่า 3 ปี่ ส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรในการรักษาโรค ความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรสำหรับรักษาโรคทั่วไป คือ สะตอ สะเดาสำหรับโรคความดันโลหิตสูง มากที่สุด รองลงมาเป็นความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคผิดหนัง คือ ขมิ้นเหลือง และอันดับสาม ยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ คือ หญ้าหมอน้อย เจตคติต่อการใช้ยาสมุนไพรเห็นว่า ยาสมุนไพรควรปลูกเป็นอาชีพมากที่สุด รองลงมาในอันดับสองเห็นด้วยว่ายาสมุนไพรควรได้รับการพัฒนาเป็นยาไทยประจำบ้าน อันดับสามยาสมุนไพรช่วยทำให้เศณษฐกิจของประเทศดีขึ้น พฤติกรรมในการใช้ยาสมุนไพร มากที่สุดคือ เมื่อป่วยเล็กน้อยมักจะนำยาแผนปัจจุบันมารับประทาน เพราะสะดวกกว่ายาสมุนไพร อันดับสองคือ เคยอาบหรือประคบด้วยยาสมุนไพ อันดับสาม คือเมื่่อมีอาการเจ็บคอหรือระคายเคืองในลำคอ จะนำยาสมุนไพรมารับประทาน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการใช้ยาสมุนไพรในระดับดี เรียงตามลำดับ จากมากไปหาน้อย คือสมุนไพรมีประโยชน์ทั้งด้านการนำมาเป็นอาหาร และยารักษาโรค รองลงมาคือ การใช้ยาสมุนไพรเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งเมื่อมีอากาป่วย และพึงพอใจที่ยาสมุนไพรในปัจจุบันได้มาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือ การทดสอบสมมติฐานพบว่า อาชีพของกลุ่มตัวอย่างทางด้านความรู้เจตคติที่มีต่อการใช้ยาสมุนไพรและพฤติกรรมในการใช้ยาสมุนไพร มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการใช้ยาสมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/482
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก2.71 MBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ2.22 MBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ2.96 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ2.27 MBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ7.65 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 113.56 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 268.5 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 324.59 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 439.03 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 512.01 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม5.83 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก116.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.