Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/634
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรีนวล, ลัภกิตโร-
dc.contributor.authorLapakittaro, Srinuan-
dc.date.accessioned2017-09-07T10:10:33Z-
dc.date.available2017-09-07T10:10:33Z-
dc.date.issued2001-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/634-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพืิ่อศึกษาระดับความพร้อมของกระบวนการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ด้านการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารกิจกานักเรียน การบริหารงานธุรการ การบริหารอาหาคาสถานที่ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ทั้งเป็นรายด้านและโดยภาพรวมเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความพร้อมของกระบวนการบริหารระหว่างผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในการจัดการศึกาาขั้นพื้นฐาน 12 ปี และเพื่อเสนอแนะกระบวนการบริหารของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 199 รูป และครูผู้สอนจำนวน 393 รูป/คน จากจำนวนโรงเรียน392 โรง ทั่วประเทศ รวมผู้บริหารและครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 592 รูป/คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร นักวิชาการทางการจัดการศึกษา จำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ มาตราส่วนประมาณค่าและแบบสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง (structured form) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t - test ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. ระดับความพร้ัอมของกระบวนการบริหารของผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในการจัดการศึกาาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 เมื่อพิจารณากระบวนการบริหารเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารกิจการนักเรียน อยู่ระดับมาก และเป็นลำดับแรก รองลงมา ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานธุรการ การบริหารงานบุคคล การบริหารอาคารสถานที่ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความพร้อมของกระบวนการบริหารระหว่างผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในการจัดการศึกาาขั้นพื้นฐาน 12 ปี พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความพร้อมของกระบวนการบริหารทั้ง 6 ด้าน ระหว่างผู้บริหารและครูผู้สอน มีความแตกต่างกันอย่างม่ีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของครูผู้สอนในกระบวนการบริหารทั้ง 6 ด้าน มากกว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้บริหาร 3. เสนอแนะกระบวนการบริหารของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกาา ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ประกอบด้วย 3.1) การบริหารงานวิชาการ ควรเน้นให้มีการวางแผนวิชาการให้สอดคล้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี และเหมาะสมกับผู้เรียนซึ่งอยู่ในสมณเพศ ควรสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารและครูผู้สอนในหลักสูตรของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเน้นการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียน 3.2) การบริหารงานบุคคล ควรให้ความสำคัญในเรื่อง การอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานอุปกรณ์เครื่องมือ และปัจจัยเสริมต่าง ๆ ที่มีส่วนจูงใจให้ผู้ปฏิบัติมีขวัญและกำลังใจ ควรกำหนดมาตรฐานในด้านการพัฒนาผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนให้มีมาตรฐาน 3.3) การบริหารกิจการนักเรียน ในการจัดการศึกษาขั้นพืิ้นฐาน 12 ปี ควรเน้นคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน การมีส่วนร่วมคิดร่วมทำทั้งผู้บริหารและครูผู้สอน ควรมีการมุ่นเน้นให้มีความรู้ ทักษะในวิชาพระปริยัติธรรมวิชาสามัญ สามารถปฏิบัิตกิจของสงฆ์ตามพระธรรมวินัยและระเบียบของสงฆ์ เป็นศาสนทายาทที่ดี สามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาตนเองและสังคม สมควรแก่สมณวิสัย 3.4) การบริหารงานธุรการควรมีการปรับปรุงงานสารบรรณ งานการเงิน งานพัสดุ ครุภัณฑ์ งานทะเบียนนักเรียน งานรักษาความปลอดภัยและงานประชาสัมพันธ์ ให้ทันสมัย รวดเร็ว จัดระบบงานอย่างดี ควรดำเนินการโดยให้ผู้เกี่ยวข้องและชุมชนมีส่วนร่วมด้วยและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย 3.5) การบริหารอาคารสถานที่ ควรมีความปลอดภัย แข็งแรง สะดกต่อการใช้งาน มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เหมาะที่จะเป็นแหล่งการเรียนรู้ ควรมีความพร้อมเกี่ยวกับปัจจัยประกอบของสถานที่ รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่่เกี่ยวข้อง 3.6) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี โรงเรียนควรให้ความสำคัญกับชุมชน เพราะความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียน จะส่งผลไปถึงการระดมทรัพยากรในการสนับสนุนโรงเรียน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมจัดการศึกษาด้วย สำหรับข้อเสนอแนะผลจากการศึกาากระบวนการบริหารของดรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ควรมีการให้ความรู้ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับพระภิกษุสงฆ์ กับผู้บริหารและครูผู้สอน เพื่อให้การบริหารโรงเรียนมีคุณภาพ มีทิศทางในการดำเนิการจัดการศึกษาที่ชัดเจนen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectโรงเรียน - การบริหารen_US
dc.titleการศึกษาความพร้อมของกระบวนการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีen_US
dc.title.alternativeA studying of Readiness in the Administration process of Dhamma Schools (General Education Stream) in organizing 12 year Basic Education.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก7.42 MBAdobe PDFView/Open
Title2.pdfหน้าอนุมัติ9.14 MBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ15.56 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ8.79 MBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.49 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 15.8 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 233.83 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.38 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4253.41 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 510.49 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม3.01 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก181.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.