Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/951
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิทิตา, งามปัญจะ-
dc.contributor.authorNgamepunga, Witita-
dc.date.accessioned2018-03-29T04:52:45Z-
dc.date.available2018-03-29T04:52:45Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/951-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายฝั่งทะเล เขตบางขุนเทียน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แนวทางในการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่ โดยทั้งนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ และการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ตามกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลในพื้นที่สามารถสรุปข้อมูลจากพื้นที่ที่ศึกษาได้ดังนี้ สภาพการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายฝั่งทะเลเขตบางขุนเทียน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากน้ำทะเลกัดเซาะตลิ่ง และการปล่อยของเสียที่ทำให้เกิดมลภาวะของน้ำอันเป็นผลทำให้การทำอาชีพประมงของคนในพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป คนหนุ่มสาวในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะออกไปทำงานข้างนอกพื้นที่ ทั้งนี้การคมนาคมมีความเจริญมากขึ้น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลเขตบางขุนเทียนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยงเชิงนิเวศ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ไม่ได้มีความร่วมมือกันเพื่อการพัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบยั่งยืนแต่อย่างใด จากการศึกษาพบว่า ภาครัฐนั้นได้มีการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยงเชิงนิเวศโดยวิธีการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของพื้นที่ ได้แก่ ต้นไม้ เส้นทางการเดินทาง ฯลฯ แต่ไม่ได้ประสานถึงบทบาทที่แสดงออกถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ เช่น การชูประเด็นความเป็นมาของคนในพื้นที่ วิถีของการดำรงชีพของคนในพื้นที่ การได้มาซึ่งที่ทำกินของคนในพื้นที่ การได้มาซึ่งที่ทำกินของคนในพื้นที่ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากคนในกรุงเทพมหานครโดยทั่วไปคือ เป็นการจับจองพื้นที่ทำกินแบบสหกรณ์ที่ดินการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพของพื้นที่อันเป็นลักษณะพิเศษและส่งผลกระทบที่เสียหายต่อพื้นที่มาถึงปัจจุบัน เช่น การขุดคลองเพื่อให้น้ำทะเลเข้ามาได้สะดวก การปล่อยให้ภัยทางธรรมชาติเข้ามาทำลายสภาพพื้นที่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจต่อผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวและมีความน่าสนใจมากกว่าการจัดสภาพพื้นที่ให้ร่มรื่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในส่วนภาคประชาชนก็มิได้แสดงบทบาทของการร่วมพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวแต่อย่างใด ทั้งนี้อาจเป็นด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ศึกษาก็เป็นไปได้ ด้วยที่ว่าพื้นที่เป็นคลอง บ้านเรือนแต่ละหลังอยู่ห่างกันมาก การเดินทางส่วนใหญ่เป็นทางเรือ แต่ประเด็นที่ชัดเจนที่ทำให้บทบาทภาคประชาชนไม่มีคือ การขาดการรวมกลุ่มของภาคประชาชน และการขาดความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ ในส่วนของภาคเอกชนนั้นจะเป็นในลักษณะของทุนจากภายนอกพื้นที่เข้ามาตั้งกิจการ ดังนั้นการร่วมมือที่พัฒนาพื้นที่อย่างแท้จริงจึงเป็นไปได้ยากมาก เพราะลักษณะของการลงทุนในกิจการจะต้องพร้อมที่เปลี่ยนแปลงและเคลื่อนย้ายได้เสมอ ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลเขตบางขุนเทียนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืนภาครัฐจะต้องเป็นหน่วยงานหลักที่จะนำการพัฒนามาสู่พื้นที่นี้ ในขณะเดียวกันจะต้องมีตัวกลางที่จะเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและอนุรักษ์พื้นที่ไว้ และต้องดึงศักยภาพของปัจจัยทางด้านทุนจากภาคเอกชนเข้ามาเพื่อหล่อเลี้ยงการพัฒนาให้กับภาคประชาชนได้อย่างต่อเนื่องและตลอดไปen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectพื้นที่ชายฝั่งทะเล,การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ,ทรัพยากรธรรมชาติ,การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล เขตบางขุนเทียน เพื่อเสริมสร้างการท่องเที่ยวเชิงนิเวศen_US
dc.title.alternativeBangkhuntien Coastline Development for Ecological Tourismen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก530.09 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ548.51 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.91 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิติกรรมประกาศ554.56 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ1.51 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่11.76 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่214.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่31.65 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่410.31 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่52.98 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.32 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก7.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.