Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/956
Title: ความต้องการฝึกอาชีพของผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานในชุมชน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Demand for professional training among active labours residing in Thonburi District, Bangkok
Authors: วรวิทย์, กิตติอุดม
Kitiudom, Voravit
Keywords: การฝึกอาชีพ,แรงงาน,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2007
Publisher: Dhonburi Rajabhat University Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: บทคัดย่อ การศึกษาความต้องการฝึกอาชีพของผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานในชุมชน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการฝึกอาชีพของประชาชนในวัยแรงงาน เขตธนบุรี ศึกษาความต้องการฝึกอาชีพกับความแตกต่างด้านปัจจัยต่างๆ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการฝึกอาชีพกับปัจจัยต่างๆ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน ทั้งผู้ที่มีงานทําและไม่มีงานทําโดยอาศัยอยู่ในเขตธนบุรี จํานวน 44 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 520 คน ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการวิจัย ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าไค-สแควร์ ผลการวิจัย พบว่า เพศชาย มีความพึงพอใจในอาชีพมากกว่าเพศหญิง ผู้ที่ต้องการฝึกอาชีพในหมวดพาณิชยกรรมมากที่สุดโดยเหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างต้องการฝึกอาชีพ คือ ต้องการเปลี่ยนงสน เป็นลําดับแรก รองลงมาคือ หารายได้พิเศษ และต้องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นต้น การทดสอบสมมติฐาน ด้านปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศหญิงมีความต้องการฝึกอาชีพสูงกว่าเพศชายเล็กน้อย แต่ไม่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุต่างกัน มีความต้องการฝึกอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ที่เป็นบุตรลําดับที่ 1 หรือบุตรคนโตมีความต้องการฝึกอาชีพสูงกว่าผู้ที่เป็นบุตรในลําดับอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ที่สําเร็จการศึกษาระดับ ประถมศึกษา/เทียบเท่า/หรือต่ํากว่า มีความต้องการฝึกอาชีพสุงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่สําเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/เทียบเท่าระดับมัธยมตอนปลาย/ปวช./ปวส./เทียบเท่าและระดับอนุปริญญา/ปวส./เทียบเท่า/หรือสูงกว่า อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ที่มีสถานภาพโสดมีความต้องการฝึกอาชีพสูงกว่ากลุ่มที่มีสถานภาพสมรสและมีสถานภาพเป็นหม้าย หย่า และแยกกันอยู่ อย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.05ผู้ที่่มีจํานวนผู้เป็นภาระมากกว่ามีความต้องการ ฝึกอาชีพสูงกว่าผู้ที่มีจํานวนผู้เป็นภาระน้อยกว่า อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ที่มีรายได้แตกต่างกันมีความต้องการฝึกอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างที่ต้องเผชิญกับสภาวะที่มีหนี้สินแตกต่างกันมีความต้องการฝึกอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านปัจจัยการทํางานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม มีความต้องการฝึกอาชีพสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรม การบริการ พาณิชยกรรม และที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยมีประสบการณ์การฝึกอาชีพมีความต้องการฝึกอาชีพสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่เคยมีประสบการณ์ฝึกอาชีพ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และด้านปัจจัยเสริม พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีจํานวนเวลาว่างแตกต่างกันมีความต้องการฝึกอาชีพต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ที่มีความพร้อมเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอาชีพ มีความต้องการฝึกอาชีพสูงกว่าผู้ที่ไม่พร้อมเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอาชีพ อย่างมีนัยสําคัญทางสถืตืที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับข่าวสารการฝึกอาชีพมากมีความต้องการฝึกอาชีพสูงกว่า กลุ่มตัวอย่างที่รับข่าวสารการฝึกอาชีพปานกลาง น้อย และกลุ่มที่ไม่ได้รับข่าวสารการฝึกอาชีพเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/956
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก563.56 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ587.79 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.58 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ587.54 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.43 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่13.67 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่29.73 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่31.77 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่411.75 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่53.33 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม840.13 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.