Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1003
Title: ภูมิปัญญาพื้นบ้านหัตถกรรมจักสานตับจากมุงหลังคากับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง : ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ 2 บ้านวันบางโปรง ตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Folk Wisdom of Roof Wickerwork with Nipa Plam Leaves and Economic Development of Self-Reliant Communities : A Case Study on Moo 2 Ban Wat Bang Pron, Tambon Bang Prong, Muang District, Samut Prakarn Province
Authors: ปรัชญาณี, ธัญญาดี
Dhanyadee, Prachyanee
Keywords: ภูมิปัญญาพื้นบ้าน,หัตถกรรม,จักสาน,ตับจาก,เศรษฐกิจชุมชน,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาพื้นบ้านหัตถกรรมจักสานตับจากมุงหลังคากับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง : ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ 2 บ้านวัดบางโปรง ตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านการจัดการป่าจาก และการใช้ประโยชน์ป่าจากของชุมชน ศึกษาการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านหัตถกรรมจักสานตับจากมุงหลังคามาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ตลอดจนศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านหัตถกรรมจักสานตับจากมุงหลังคามาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้ประกอบอาชีพเย็บจาก หมู่ 2 บ้านวัดบางโปรง ตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 16 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คน รวม 23 คน โดยมีแนวคำถามในการสัมภาษณ์แนวลึก (In-depth Interview) รวมถึงได้ใช้ข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม มาประกอบก่อนที่จะสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของภูมิปัญญาด้านการจัดการป่าจากและการใช้ประโยชน์ป่าจากของชุมชนเกิดจากการเรียนรู้ที่จะจัดการรักษาป่าจาก บนพื้นฐานกระบวนการและวิธีการในการแก้ไขปัญหาของชุมชนในเรื่องพื้นที่ป่าจากเริ่มลดลง เนื่องจากความเจริญด้านต่างๆ เข้ามาทำให้เกิดกิจกรรมหลายประการ เช่น การขยายตัวของชุมชน การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมการขยายถนน และบ้านจัดสรร ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวสู่ป่าจากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวบ้านต้องมีวิธีการจัดการป่าจากเพื่อให้มีป่าจากงอยู่ โดยมีวิธีการจัดการป่าจากเฉพาะป่าจากที่มีอยู่เดิมการจัดการป่าจากจึงเน้นดูแลรักษาและการบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป วิธีการจัดการทำให้เกิดความสมดุลกับระบบนิเวศและความสมดุลนี้ทำให้สามารถมีป่าจากไว้ตลอดไป โดยวิธีการจัดการ คือ การตัดแต่งใบ การตัดสาง การบำรุงรักษา การดูแลเรื่องศัตรูพืช และการปลูกป่าจากเพิ่มเติม และผลการวิจัยเรื่อง การนำภูมิปัญญาพื้น้านมาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง พบว่า ชาวบ้านมีองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการจัดการ และการใช้ประโยชน์จากป่าจากที่จะใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนด้วยการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือ ต้นจากมาใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง มีการถ่ายทอดองค์ความรู้กันมากว่า 100 ปี และก่อให้เกิดภูมิปัญญาในการนำใบแก่ของต้นจากมาเย็บทำตับจากมุงหลังคา จัดเป็นภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมจักสาน เพราะเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic needs) ได้แก่ ปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตคือ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค อาหาร โดยเฉพาะเศรษฐกิจในชุมชนเป็นแบบผลิตเอง ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในครัวเรือน ที่มีประโยชน์ใช้สอยในการดำรงชีวิตและอาชีพเย็บจากสามารถสร้างรายได้สุทธิต่อปีเฉลี่ย 12,000 บาท - 48,000 บาท ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และชุมชน ตามทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 คือ ขั้นพอมีพอกิน เลี้ยงตัวเองได้ (Self-sufficiency) ขั้นต่อมาหรือทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 คือ ขั้นอยู่ดีกินดี ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มในการผลิตเพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองการซื้อขายผลผลิตของตนเอง แต่ชาวบ้านประสบปัญหาในการบริหารจัดการกลุ่ม ขาดความรู้ในด้านการทำบัญชี การตลาด ถึงแม้จะได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางโปรงในการส่งเสริมอาชีพ เนื่องจากผู้ที่มีอาชีพเย็บจากส่วนใหญ่จะอยู่เป็นผู้สูงอายุ และอยู่ในวัยกลางคน การถ่ายทอดภูมิปัญญายังจำกัดอยู่ในวงแคบๆ คือ ครอบครัวของผูประกอบการอาชีพเย็บจากเท่านั้น ขั้นที่ 3 ของทฤษฎีใหม่ คือ ขั้นมั่งมีศรีสุข การตลาดก็ยังต้องพึ่งพาตลาดจากภายนอกและยังไม่มีการเชื่อมโยงการตลาดกับแหล่งทุนอื่นได้ ดังนั้น ภูมิปัญญาพื้นบ้านจัดเป็นมิติทางวัฒนธรรมที่มีบทบาทในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมานานในอดีต ถึงแม้ว่าจะถูกละเลยไปบ้างในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าสังคมจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนนั้น การอนุรักษ์รักษาป่าด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านจะมีส่วนช่วยอย่างสำคัญ การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการล่มสลายของครอบครัว ชุมชนโดยส่วนรวมในที่สุด และยังช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1003
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก544.37 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ548.48 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ865.29 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ654.44 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ619.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 112.46 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 210.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3404.62 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 46.72 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53.16 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม2.09 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.