Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1005
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แม่น้ำ : กรณีศึกษา แม่น้ำท่าจีน ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
Other Titles: The Participation in River Conservation : A Case Study of Thacheen River, Nakornchaisri District, Nakornprathom Province
Authors: วรัตน์, ญาณทัศนกิจ
Yarnthadsanakij, ํWarat
Keywords: การมีส่วนร่วม,การอนุรักษ์แม่น้ำ,แม่น้ำท่าจีน,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แม่น้ำ : กรณีศึกษาแม่น้ำท่าจีน ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ศึกษษปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนในเขต อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ประชากร คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ตำบลที่ติดกับแม่น้ำท่าจีน ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 11,430 ครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 114 คนคิดเป็นร้อยละ 1.26 ของประชากร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนในระดับต่ำ ในเรื่องการทิ้งเศษอาหารที่ย่อยสลายเองได้ ลงแม่น้ำมีประโยชน์ไม่ก่อให้เกิดน้ำเน่าเสีย (ร้อยละ 49.12) ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเท่านั้นที่ควรมีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์แม่น้ำ (ร้อยละ 48.25) ระดับสูง ในเรื่องการรณรงค์ให้ช่วยกันฟื้นฟูอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนเป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้ (ร้อยละ 91.23) การเกิดมลพิษในแม่น้ำจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชากรโดยตรง (ร้อยละ 87.72) ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าจูงใจในระดับมากที่สุดในเรื่องที่เห็นว่าแม่น้ำที่ใสสะอาดส่งเสริมสุขภาพอนามัยของผู้อาศัยอยู่บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำ (ค่าเฉลี่ย 4.44) แม่น้ำท่าจีนเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญของประเทศ สมควรได้รับการอนุรักษ์ดูแลรักษาอย่างดี (ค่าเฉลี่ย 4.39) มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.09) โดยมีค่าเฉลี่ยรวมตามลำดับในด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย 3.29) รองลงมาในด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือดำเนินงาน (ค่าเฉลี่ย 3.22) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (ค่าเฉลี่ย 3.01) และในด้านการมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจปรึกาหารือ (ค่าเฉลี่ย 2.86) ส่วนใหญ่ต้องการจะเห็นแม่น้ำท่าจีนมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ รองลงมาต้องการเห็นว่าเป็นแหล่งพักผ่อนท่องเที่ยว และสร้างเศรษฐกิจชุมชน เห็นว่าประชาชนไม่เข้าใจความสำคัญของการร่วมกันอนุรักษ์แม่น้ำ รองลงมาเห็นว่าผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฏระเบียบและเสนอว่า ประชาชนสองฝั่งแม่น้ำควรจะมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของแม่น้ำ รองลงมาเสนอว่าควรมีการรณรงค์เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์แม่น้ำแก่ประชาชนมากขึ้น ผลการทดสอบสมมติฐานมีดังนี้ เพศของกลุ่มตัวอย่างไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน อายุของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ในด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจปรึกษาหารือ และในด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือดำเนินงาน โดยเป็นความสัมพันธ์ในเชิงบวก ระดับการศึกษาของกลุ่มตวอย่างในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนในเชิงลบ นั้นคือกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนน้อย อาจเป็นเพราะว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงมีหน้าที่การงานภารกิจมากและไม่ได้ประกอบภาระกิจที่เกี่ยวข้องหรือใกล้กับแม่น้ำ จึงอาจไม่มีเวลาและไม่สนใจที่จะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำ การเป็นสมาชิกชมรมและปัจจัยจูงใจในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนทุกด้าน ความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจปรึกษาหารือ ในเชิงลบ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนมาก จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจปรึกษาหารือน้อย จากผลของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จะเห็นว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนทั้ง 4 ระดับ มีความสำคัญมากต่อการอนุรักษ์แม่น้ำของตน ให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไป ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่า ควรรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนมากขึ้น โดยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนอย่างถูกต้องสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรู้สึกตระหนักในการ มีส่วนความสำเร็จ หรือความล้มเหลวในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนในเขตของตน สร้างความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ สถานประกอบการ และองค์กรเอกชนต่างๆ ให้ร่วมกันทำหน้าที่ในการอนุรักษ์แม่น้ำลำคลองอย่างเป็นระบบ ควรดำเนินการจัดตั้งชมรม และแสวงหางบประมาณในการจัดตั้งชมรมเพื่อการอนุรักษ์ แม่น้ำท่าจีนโดยทันที เพื่อให้ชมชรอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนเป็นศูนย์กลางในการรับทราบ เกี่ยวกับปัญหาและพฤติกรรมในการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำท่าจีนที่ไม่เหมาะสมเป็นต้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1005
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก529.73 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ577.06 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.74 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ665.25 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ684.83 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 13.72 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 211.59 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3988.38 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.47 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.09 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม382.5 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.