Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1030
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอวยชัย, ตั้งเตรียมใจ-
dc.contributor.authorTangtriamjai, Uaychai-
dc.date.accessioned2018-07-23T07:49:09Z-
dc.date.available2018-07-23T07:49:09Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1030-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องพิธีกรรมประเพณีงานศพ ของชาวไทเขินในตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและพิธีกรรมประเพณีงานศพ ของชาวไทเขิน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพิธีกรรมประเพณีงานศพ ของชาวไทเขินกลุ่มนี้ โดยผู้วิจัยศึกษาข้อมูลภาคสนามเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้รู้ จำนวน 31 คน ประกอบด้วย เจ้าอาวาส จำนวน 5 รูป เจ้าพิธีกรรม จำนวน 7 คน มัคนายก จำนวน 5 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 7 คน ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมประเพณีงานศพ และมีส่วนเกี่ยวข้องในพิธีกรรมประเพณีงานศพ จำนวน 7 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ และนำเสนอข้อมูลผลการศึกษา โดยวิธีพรรณาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบพิธีกรรมประเพณีงานศพของชาวบ้านในอดีต เมื่อมีคนตายไม่ว่าผู้ตายจะตายในลักษณะใดก็ตาม ชาวบ้านจะนำฟากหรือเสื่อไม้ไผ่มาห่อหุ้มศพ ใช้เถาวัลย์ หรือเชือกขาวรัดช่วงศรีษะ เอว และข้อเท้า แล้วนำไปฝังใกล้บริเวณบ้าน และชาวบ้านจะปลงศพแบบฝังกับผู้ตาย จะไม่มีพิธีกรรมทางศาสนา ต่อมาเมื่อมีกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินได้เข้ามาอาศัยอยู่พื้นที่เดียวกัน ทำให้ชาวบ้านรับเอาวัฒนธรรมของชาวไทเขินเข้ามา จนเกิดการเปลี่ยนแปลงประเพณีงานศพในปัจจุบัน อันเนื่องมาจาก ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง จนกลายเป็นประเพณีในปัจจุบัน คือ ด้านความเชื่อ การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้แก่ การอาบน้ำศพ การใส่เงินปากศพ การมัดตราสังข์ การเบิกโลงศพ การตามไฟหน้าศพ การเซ่นไหว้ศพ การเคลื่อนย้ายศพ และการกลับจากการเผาศพ ด้านสังคม การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้แก่ การปรึกษากำหนดงานศพ การปิดหน้าศพ การตั้งศพ การเฝ้าศพ การแต่งกายไว้ทุกข์ การส่งศพ และข้อห้ามวันเผา ด้านเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้แก่ การแต่งตัวศพ การทำโลงศพ และการสวดศพ ด้านสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้แก่ การเคลื่อนย้ายศพออกจากเรือน ในปัจจุบันการเคลื่อนย้ายศพออกจากบ้านจะมีอยู่สองวิธี คือ การนำศพออกทางฝาบ้านของผู้ตายและการนำศพออกจากบ้านโดยใช้ประตูผี และใช้บันไดผี พิธีกรรมประเพณีเกี่ยวกับความตายนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรมกับกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกัน ทั้งเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ต้องปรับเปลี่ยนไปเพื่อความคงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ของตน และตรงกับวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง คือชาวบ้านในตำบลทรายมูล เมื่อได้รับวัฒนธรรมของชาวไทเขินแล้ว มีความเหมือนกับชาวไทเขินที่อื่นในภาคเหนือ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่สอง อันเนื่องมาจากปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมประเพณีงานศพ ของชาวไทเขินในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ด้านความเชื่อ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการปกครอง และด้านสภาพแวดล้อม ที่มีความเกี่ยวข้องกันตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวทางในการอนุรักษ์ ทางการหรือชุมชน ควรจะให้ชาวไทเขินรักษาขนบธรรมเนียมของชาวไทเขินไว้ โดยการตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับวิถีชีวิตเกี่ยวกับประเพณีงานศพ สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป และชาวไทเขินควรจะรวบรวมประวัติความเป็นมา และพิธีกรรมต่างๆ จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติชาติ และวิถีของชุมชนต่อไป จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรศึกษาเปรียบเทียบพิธีกรรมประเพณีงานศพของชาวไทเขินในตำบลต่างๆ และมีการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของชาวไทเขินในด้านอื่นๆ อีก เช่น วัฒนธรรมการกิน วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้นen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectงานศพ,ชาวไทเขิน,เชียงใหม่,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleการศึกษาพิธีกรรมประเพณีงานศพ ของชาวไทเขิน ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe Study on Traditional Funeral Ritual of Thai-khern in Saymul Sub-District, Amphur Sankumpang, Chaiangmai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก516.38 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ539.19 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.39 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ70.99 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.07 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.66 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 212.36 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 33.36 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.41 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.69 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม893.14 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก17.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.