Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1057
Title: การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร
Other Titles: A Study of Thaipainting at Wat-Amphawanjediyaramvoravihara
Authors: เสรภูมิ, วรนิมมานนท์
Varanimmanont, Serapoom
Keywords: จิตรกรรมฝาผนัง,วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาจิตรกรรมภาพฝาผนังวัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการนำเสนอด้านต่างๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนัง ลักษณะรูปแบบของจิตรกรรมฝาผนัง และกระบวนการและกรรมวิธีเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต และการสัมภาษณ์ช่างเขียนที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษามีดังนี้ ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร นับว่าเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงภูมิปัญญาของจิตรกรชาวไทยยุคใหม่ ที่ถ่ายทอดตามแบบอย่างครูยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นได้อย่างละม้ายคล้ายคลึงในเชิงรูปแบบและกรรมวิธีการเขียนแบบ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่สรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดในการนำเสนอภาพ แนวคิดในการเขียนภาพมาจากรัชสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยนำเสนอภาพที่สำคัญ คือ แนวคิดภาพภูมิสถานกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ประกอบไปด้วยพระราชวัง วัง วัดวาอาราม และพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพ แนวคิดการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง "ภูมิสถานสวนขวา" เป็นเรื่องราวของ พระราชอุทยานที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้สร้างขึ้นเป็นที่ประพาสส่วนพระองค์ แนวคิดภาพจิตรกรรม เครื่องแขวนดอกไม้สด เพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยและองค์ความรู้ด้านงานประดิษฐ์ที่มีมาแต่อดีตให้คงอยู่ แนวคิดการเขียนภาพทวารบาล ที่ประกอบด้วย ภาพเทวดาประจำทิศทั้งสี่คู่ ได้แก่ ภาพจิตรกรรม ท้าวธตฐกับท้าววิรุฬหก, ท้าววิรูปักษ์กับท้าวกุเวร และนพเคราะห์ต่างๆ แนวคิดการเขียนภาพโครงตำราไม้ดัด ที่เป็นไม้ตัดที่นิยมชมชอบในยุครัชกาลที่ 2 ซึ่งยังไม่มีวัดเขียนภาพเช่นนี้ไว้ประดับไว้ภาพในพระอุโบสถ ซึ่งภาพด้งกล่าว ได้แก่ ต้นไม้ สัตว์ และองค์ประกอบอื่นๆที่ประกอบภายในภาพอย่างสมบูณ์ 2.ลักษณะรุปแบบของภาพจิตรกรรมฝาผนัง จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยมีลักษณะและรูปแบบจิตรกรรม ในยุครัชกาลที่ 2-3 โดยรูปแบบจิตรกรรมฝาผนัง คือ รูปภาพที่มีแบบอย่างตามอุดมคติบนแบบแผนของจิตรกรรมไทยแบบประเพณีและเป็นขนบธรรมเนียมที่ช่างเขียนสืบทอดต่อกันมาในทางจิตรกรรมตามแบบอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ไทย โดยเขียนเป็นภาพ 2 มิติ และใช้เส้นในท่าทางของแต่ละภาพ อีกทั้งกำหนดลักษณะของสีในตัวละครเพื่อเป็นแสดงชั้นวรรณะสูงต่ำของแต่ละภาพ โดยองค์ประกอบของรูปแบบจิตรกรรมฝาผนัง คือ การนำรูปแบบต่างๆ มาจัดองค์ประกอบเพื่อจัดกลุ่มหรือตำแหน่งในการเล่าเรื่องราว ตามเนื้อหาที่กำหนดให้เข้าใจได้ง่าย ทั้งในด้านความรู้สึกและการลำดับเรื่องราว ได้แก่ ภาพเทวดา ภาพมนุษย์ ภาพสถาปัตยกรรม ภาพแม่น้ำลำคลอง ภาพต้นไม้ ภาพภูเขา ภาพสัตว์ และยานพาหนะ 3.กระบวนการและกรรมวิธีเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวีดอัมพวันเจตืยารามวรวิหารตามกรรมวิธีในยุค รัตนโกสินทร์ตอนต้น มีกรรมวิธีต่างๆ ในการสร้างงานการแสดงออกเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ผนังสำหรับเขียนภาพ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์เขียนภาพ และการเขียนภาพ ในกรรมวิธีพื้นฐานในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นภาพที่เขียนด้วยเทคนิคสีฝุ่นและมีลักษณะ 2 มิติ จึงมีกรรมวิธีตั้งแต่การร่างบนกระดาษ การเขียนบนผนัง การระบายสี การตัดเส้น และการปิดทอง ที่ทำให้มีลักษณะที่ความกลมกลืนตามแบบจิตรกรรมร่วมสมัยที่ปรากฎในภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ ณ วัดอัมพวันเจติยารามวรวิหาร
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1057
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก681.45 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ391.99 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ2.08 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ442.07 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ3.79 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 16.68 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 260.55 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 331.55 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 435.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 54.93 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.74 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก68.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.