Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1061
Title: ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีผลต่อการทำงานของตำรวจสายตรวจที่ยึดหลักอุดมคติตำรวจ กองบังคับการตำรวจนครบาล 6
Other Titles: The Psychological Factors Effecting the Work of the Patrol Polices Holding the Idealistic Items of Beliefs to be Perfect Patrol Polices of Metropolitan Police Division 6
Authors: สันติชัย, หนูทอง
Nuthong, Santichai
Keywords: ตำรวจ,การปฏิบัติงาน,จิตสังคม,อุดมคติ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2002
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: ภารกิจสำคัญตำรวจคือต้องปฏิบัติหน้าที่ตามอุดมคติ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคมตามความหมายของการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ตำรวจสายตรวจจะมีความใกล้ชิดกับประชาชนทำงานกับสังคม จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงตนเอง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและพฤติกรรมของคน อันเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่มีผลต่อการทำงานของตำรวจสายตรวจที่ยึดหลักอุดมคติตำรวจ กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะทางจิตและลักษณะทางพุทธว่าจะมีความสัมพันธ์ต่อการทำงานของตำรวจสายตรวจที่ยึดมั่นในอุดมคติตำรวจทั้ง 9 ข้อ ในด้านการป้องกัน การปราบปราม การคุ้มครองสิทธิ์ของบุคคลและการให้บริการต่างๆ หรือไม่ กลุ่มตัวอย่าง ใช้ประชากรทั้งหมดของตำรวจสายตรวจ กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 จำนวน 262 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจำนวน 5 ตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC โดยใช้สถิติดังนี้ ค่าร้อยละ (Peercentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coeffcient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ตำรวจสายตรวจที่เป็นประชากร จำนวน 262 คน มีอายุเฉลี่ย 34.53 ปี อายุราชการเฉลี่ย 12.27 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ำกว่าปริญญาตรี สถานภาพเศรษฐกิจของครอบครัวส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยพอใช้ และประชากรส่วนใหญ่มีครอบครัวรับผิดชอบ 2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะทางจิต และลักษณะทางพุทธกับการทำงานของตำรวจสายตรวจที่ยึดมั่นในอุดมคติตำรวจทั้ง 9 ข้อ ในด้านการป้องกัน การปราบปราม การคุ้มครองสิทธิ์ของบุคคล และการให้บริการต่างๆ พบว่า ทัศนคติต่อการทำงานของตำรวจสายตรวจมีความสัมพันธ์กับอิทธิบาท 4 และมีความสัมพันธ์กับการทำงานที่ยึดมั่นอุดมคติตำรวจ 9 ข้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความเชื่ออำนาจในตนมีความสัมพันธ์อิทธิบาท 4 และมีความสัมพันธ์กับการทำงานที่ยึดมั่นอุดมคติตำรวจ 9 ข้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และอิทธิบาท 4 มีความสัมพันธ์กับการทำงานที่ยึดมั่นอุดมคติตำรวจ 9 ข้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.ตำรวจสายตรวจที่มีทัศนคติต่อการทำงานที่ยึดหลักอุดมคติตำรวจ 9 ข้อ มีความสัมพันธ์กับความเชื่ออำนาจในตน โดยมีความสัมพันธ์ 1 ใน 11 กลุ่ม ได้แก่ ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป ทัศนคติต่อการทำงานมีความสัมพันธ์กับอิทธิบาท 4 โดยมีความสัมพันธ์กัน 9 ใน 11 กลุ่ม ความเชื่ออำนาจในตนสัมพันธ์กับการทำงานที่ยึดหลักอุดมคติตำรวจ 9 ข้อ โดยมีคามสัมพันธ์กัน 5 ใน 11 กลุ่ม และอิทธิบาท 4 กับการทำงานที่ยึดหลักอุดมคติตำรวจ 9 ข้อมีความสัมพันธ์กันในทุกกลุ่ม ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการทำงานที่ยึดหลักอุดมคติ 9 ข้อของตำรวจสายตรวจ ก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ตำรวจสายตรวจมีการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจ โดยการฝึกอบรมให้ตำรวจสายตรวจมีทัศนคติต่อการทำงาน และอิทธิบาท 4 สูงขึ้น รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับสายตรวจให้ได้รับการสนับสนุนทางด้านจิตใจ อันจะทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักอุดมคติ 9 ข้อของตำรวจสายตรวจให้สูงขึ้นได้
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1061
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก995.04 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ538.53 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ2.05 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ589.35 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.19 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 13.62 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 214.13 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 49.68 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.57 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.43 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.