Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1084
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิริยาภรณ์, เจริญชีพ-
dc.contributor.authorCharernsheep, Wiriyaporn-
dc.date.accessioned2018-10-04T05:26:21Z-
dc.date.available2018-10-04T05:26:21Z-
dc.date.issued2002-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1084-
dc.description.abstractการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมล้วนแต่มีกลไกสำคัญ ถ้าคนมีสุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์แข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หรือขาดสุขนิสัยที่ดี ก็ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนาสุขภาพอนามัยของคนจึงเป็นเรื่องสำคัญ และถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของคนให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันเรื่องโภชนาการนับเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับประเทศ ถ้ามีโภชนาการที่ไม่ดีจะกลายเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ มากมายตามมาในอนาคต ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคมกับเจตคติต่อการบริโภคอาหาร,ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางชีวสังคมกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการบริโภคอาหารกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2544 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 375 คน การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามที่ได้สร้างขึ้นมีจำนวน 4 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1.นักเรียนหญิงมีเจตคติต่อการบริโภคอาหารไม่แตกต่างจากนักเรียนชาย รายได้เฉลี่ยของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.นักเรียนหญิงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่านักเรียนชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รายได้เฉลี่ยของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ส่วนการได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.เจตคติต่อการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen_US
dc.subjectอาหารen_US
dc.subjectโภชนาการen_US
dc.subjectประถมศึกษาen_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFood Consumption Behaviors of Prathom Suksa 6 Students under the Jurisdiction of Office of Bangkok Metropolitan Primary Educationen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก712.47 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ403.29 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.75 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ408.95 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.65 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 14.07 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 219.7 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 33.2 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 46.29 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 54.59 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม4.2 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก4.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.