Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1105
Title: วัฒนธรรมและแนวทางอนุรักษ์สิ่งทอพื้นถิ่นในวิถีชีวิตลาวครั่ง : กรณีศึกษาชุมชนในตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
Other Titles: Culture and Approach of Conserving Native Textile in Lao Krung's Way of Life : A Case Study of the Community in Tambon Khok Mor, Amphoe Thap Tan, Uthai Thani
Authors: วิราวรรณ์, ชาติบุตร
Chatbutra, Virawan
Keywords: สิ่งทอ
การอนุรักษ์
วัฒนธรรม
วิถีชีวิตลาวครัง
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: ลาวครั่งเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมพื้นถิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน มีรูปแบบวิถีชีวิตที่โดดเด่นคือ เลี้ยงครั่งไว้ย้อมผ้าจึงมีชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองว่า ลาวครั่ง หัตถกรรมสิ่งทอพื้นถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยการอพยพย้ายถิ่นมาจากหลวงพระบางพร้อมกับภูมิปัญญาที่ติดตัวมา เป็นกลุ่มชนที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และมีความเชื่อในผีบรรพบุรุษ สิ่งทอพื้นถิ่นลาวครั่งในตำบลโคกหม้อมีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา และความเชื่อของชุมชน ซึ่งนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบสิ่งทอ วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสิ่งทอของลาวครั่งในตำบลโคกหม้อ ศึกษาเอกลักษณ์ของสิ่งทอพื้นถิ่นของลาวครั่งในด้านคติความเชื่อ รูปแบบของลวดลายและสี ของลาวครั่งในตำบลโคกหม้อ ศึกษาทัศนะของคนในชุมชนลาวครั่งเกี่ยวกับแนวทางอนุรักษ์สิ่งทอพื้นถิ่นในตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 185 คน ผลการศึกษาสิ่งทอพื้นฐานของลาวครั่ง ตำบลโคกหม้อในปัจจุบัน พบว่า มีการทอผ้าไว้เพื่อใช้ในครอบครัว และใช้ใงานบุญและงานประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา เหลือจึงนำมาจำหน่ายเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว สิ่งทอพื้นถิ่นลาวครั่งในปัจจุบันที่พบ มี 8 ชนิด คือ หมอนขวานหรือหมอนสามเหลี่ยม หมอนน้อยหรือหมอนหก ผ้าหน้ามุ้ง ผ้าล้อ ผ้าห่มเช้าลายขิด ผ้าซิ่นตีนแดง ผ้าโจงกระเบนและผ้าขาวม้า คติความเชื่อในการสร้างสรรค์ลวดลายเทคนิคการทอแบบมัดหมี่ มี 15 ลวดลาย เทคนิคการทอแบบจก มี 28 ลวดลาย และเทคนิคแบบขิด มี 2 ลวดลาย แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ 1.การสืบทอดลวดลายมาจากบรรพบุรุษ มี 6 ลวดลาย ได้แก่ ลายหมี่หลวง ลายด่าน เมืองลาว ลายด่านใหญ่ ลายขอพระองค์ ลายหมี่น้อย และลายหมี่ตา 2.ลวดลายที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาและคติความเชื่อ มี 7 ลวดลาย ได้แก่ ลายขอคำเดือน ลายขอคันชั่ง ลายจรเข้ ลายขอระฆัง ลายหงส์ ลายช้าง และลายนาค 3.ลวดลายที่ศิลปินช่างทอจินตนาการมาจากธรรมชาติ มี 21 ลวดลาย ได้แก่ ลายขอดอกรัก ลายขอกิ่ง ลายนก ลายคลองเหลือง ลายคลองแดง ลายคลองดำ ลายขอขื่อ ลายดอกปีบ ลายดอกไม้ ลายดอกแก้ว ลายดอกจัน ลายเครือไม้ ลายสร้อยกำปัด ลายบัวเครือ ลายคมตาล ลายบ่าง ลายก้ามปู ลายผีเสื้อ ลายอึ่งยัน ลายภูเขา และลายเขี้ยวหมาตาย 4.ลวดลายที่ประยุกต์มาจากสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน มี 11 ลวดลาย ได้แก่ ลายหมี่ตะเภา ลายกาบไม้ ลายจรวด ลายคลองตุ้ม ลายขอบวย ลายขอขวด ลายขอซ้อนขอ ลายขาเปีย ลายคันร่ม ลายม้า และลายอ้อแอ้ ทัศนะของคนในชุมชนลาวครั่งเกี่ยวกับแนวทางอนุรักษ์สิ่งทอพื้นถิ่นส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทอผ้า เทคนิคการทอแบบดั้งเดิมอยู่ในระดับที่มาก คิดเป็นร้อยละ 78.69 มีความรู้เกี่ยวกับสี และลวดลายแบบดั้งเดิมอยู่ในระดับที่มาก คิดเป็นร้อยละ 70.49 มีความรู้ในเรื่องการใช้ผ้าทอพื้นถิ่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 77.05 มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างลวดลายผ้าต่อทัศนคติความเชื่ออยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 82.79 แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งทอพื้นถิ่นต้องการใช้สีที่มีอยู่ตามธรรมชาติของท้องถิ่นมาใช้ในกระบวนการย้อมสี ปัญหายังขาดทักษะความรู้ในเรื่องการป้องกันสีตก ปัจจุบันตลาดมีความต้องการผ้าที่ผลิตด้วยการใช้สีวิทยาศาสตร์เพราะทำให้มีความสดใสกว่าและสีไม่ตก และเปลี่ยนมาใช้สีวิทยาศาสตร์ ในเรื่องรูปแบบผ้าต้องการประยุกต์รูปแบบการผลิตเป็นชิ้นเดียวกันทั้งผืน ลวดลายต้องการที่จะอนุรักษ์ลวดลายแบบดั้งเดิมไว้ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาสิ่งทอพื้นถิ่น ควรจัดตั้งศูนย์การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสิ่งทอ ควรจัดทำหลักสูตรการศึกษาสิ่งทอพื้นถิ่นไว้ในโรงเรียนควรศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาสิ่งทอพื้นถิ่น เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนารูปแบบการผลิตขึ้นสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอระดับสากล ควรศึกษาเปรียบเทียบสิ่งทอพื้นถิ่นในแต่ละท้องถิ่น เพื่อหาเอกลักษณ์ เฉพาะพื้นถิ่นตนเอง ทำให้ไม่เกิดปัญหาในเรื่องการตลาดในอนาคต
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1105
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก726.71 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ423.07 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ2.7 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ496.31 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ3.97 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 13.96 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 231.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.72 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 466.08 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 56.67 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม3.05 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก37.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.