Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1108
Title: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท รักษาทุกโรค) : กรณีศึกษาโรงพยาบาลจุฬารัตน์ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Satisfaction of towards Service under Universal Health Insurance Scheme (Thirty-baht, cure-all) : Case Study of Chularat Hospital, Samut Prakarm
Authors: อัจฉรา, เกียรติเจริญมิตร
Kiatcharoenmit, Auchara
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค
ความพึงพอใจ
โครงการหลักประกันสุขภาพ
การใช้บริการ
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2006
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลจุฬารัตน์ จังหวัดสมุทรปราการ และ(2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลจุฬารัตน์ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพ จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลีย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีเทส และเอฟเทส ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ของโรงพยาบาลจุฬารัตน์ จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านเจ้าหน้าที่ และด้านระบบ กระบวนการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (2)ความพึงพอใจต่อการให้บริการของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า x = 3.00 ผู้ใช้บริการที่มีความเข้าใจปานกลาง x = 3.00 ผู้ใช้บริการที่มีความเข้าใจน้อย x = 2.00 เมื่อพิจารณา ค่านัยสำคัญทางสถิติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความเข้าใจต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3)ความพึงพอใจต่อการให้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้ใช้บริการที่มีการรับรู้ประชาสัมพันธ์ระดับมาก x = 3.00 การรับรู้ประชาสัมพันธ์ปานกลาง x = 2.96 ผู้ใช้บริการที่มีการรับรู้การประชาสัมพันธ์น้อย x =2.93 เมื่อพิจารณาค่านัยสำคัญทางสถิติ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่รับรู้การประชาสัมพันธ์ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการให้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1108
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก552.78 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ539.46 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ107.34 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ45.66 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.58 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 211.46 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.87 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.11 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53.1 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม249.52 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก780.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.