Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1111
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภาชนะดินเผาผ้าของกลุ่มอาชีพศิลปประยุกต์ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Improvement of Fabric Covered Earthenware by Applied Arts Vocational Group from Rajaburana District, Bangkok Metropolitan
Authors: ภรภัทร, โชติกะสุภา
Chotikasupa, Pornpat
Keywords: เครื่องปั้นดินเผา
กลุ่มอาชีพศิลปประยุกต์
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2005
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภาชนะดินเผาหุ้มผ้าของกลุ่มอาชีพศิลปประยุกต์ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร เพื่อทดลองนำยุทธศาสตร์การพัฒนาที่กำหนดขึ้นไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และประเมินประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการพัฒนา ได้แก่ สมาชิกกลุ่มอาชีพศิลปประยุกต์ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คน การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคล การสนทนากลุ่ม การประชุมระดมความคิด การสังเกตผลิตภัณฑ์ การสังเกตพฤติกรรมการทำงาน และกิจกรรมการบริหารจัดการของสมาชิกกลุ่มอาชีพศิลปประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีจัดระบบเนื้อหาตามประเด็นสำคัญ ตามระบบเหตุผลและลำดับเวลาทำการวิเคราะห์แบบสามเส้า เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตรงกันของข้อมูล แล้วนำมาสังเคราะห์เชื่อมโยงให้สอดคล้องกันเพื่อตอบปัญหาการวิจัย ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มเป้าหมายมีปัญหา คือ การขาดทักษะด้านเทคนิควิธีในการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ การขาดแคลนเงินทุน และการบริหารจัดการกลุ่มยังไม่มีสิทธิภาพเท่าที่ควร สมาชิกกลุ่มมีความต้องการเพิ่มพูลความรู้และทักษะการผลิตในด้านเทคนิควิธี (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สมาชิกกลุ่มอาชีพและผู้วิจัยเลือกใช้ ในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การศึกษาดูงาน การเชิญวิทยากรมาอบรมให้ความรู้และการสาธิตเทคนิควิธีการผลิต การให้กลุ่มสมาชิกได้ฝึกปฏิบัติการด้วยตนเอง และการกระตุ้นเสริมแรงจากผู้วิจัยเป็นระยะๆ (3) ผลการประเมินประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา พบว่า สมาชิกกลุ่มอาชีพศิลปประยุกต์ สามารถออกแบบลวดลายที่ใช้ตกแต่งภาชนะดินเผา สามารถประยุกต์วิธีการตกแต่งภาชนะดินเผาด้วยผ้า มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างประณีต สวยงาม และมีคุณภาพดีขึ้น (4) ผลการประเมินการพัฒนาระบบบริหารจัดการ พบว่า กลุ่มอาชีพสามารถเลือกซื้อวัตถุดิบได้ตามรูปแบบที่กลุ่มต้องการ มีการจัดระบบข้อมูลการผลิตและการจำหน่ายได้ดีขึ้น ส่วนในด้านอื่นๆ ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมากนักเพราะเป็นกลุ่มที่มีขนาดเล็กจึงต้องมีความยืดหยุ่นสูง และ (5) ผลการประเมินความพีงพอใจและเจตคติของกลุ่มอาชีพศิลปประยุกต์ พบว่าทุกคนมีความพึงพอใจ ที่ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนา และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพศิลปประยุกต์มากขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1111
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TItle 1.pdfปก939.66 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ544.47 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.41 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ733.89 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ3.92 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 19.71 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 242.22 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 35.05 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 412.95 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 523.59 MBAdobe PDFView/Open
Unit 6.pdfบทที่ 612.92 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม6.6 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก11.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.