Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1131
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุญส่ง, จิตรมณีโรจน์-
dc.contributor.authorJitmaneeroj, Boonsong-
dc.date.accessioned2018-10-24T09:12:10Z-
dc.date.available2018-10-24T09:12:10Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1131-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)เพื่อศึกษาสภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (2)เพื่อเปรียบเทียบสภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน (3)เพื่อศึกษาพฤติกรรมช่วยเหลือนักเรียนที่เด่นชัดในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หัวหน้างานแนะแนว หัวหน้าระดับชั้นและครูที่ปรึกษา จำนวน 226 คน ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1)สภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีสภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการดำเนินงานและด้านบุคลากรตามลำดับ ส่วนด้านคุณภาพนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (2)การเปรียบเทียบสภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน พบว่าโดยภาพรวมความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (3)พฤติกรรมช่วยเหลือนักเรียนที่เด่นชัดในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่านักเรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขนิสัยที่ดี ดำเนินการตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและครูมีความรู้ ความเข้าใจและเจตคติที่ดีต่อระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4)สภาพปัญหาในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่าด้านคุณภาพนักเรียน คือ นักเรียนขาดความรับผิดชอบและนักเรียนขาดการเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องในกระบวนการเรียนการสอน ด้านกระบวนการคือขาดการนิเทศและติดตามผลอย่างเป็นระบบและขาดการประสานเรื่องการส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาและแก้ไขไม่ได้ ด้านบุคลากร คือขาดบุคลากรในการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพและครูไม่เห็นความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (5)สำหรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะพบว่า ควรฝึกและอบรมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบทั้งการเรียนและงานที่มอบหมาย ควรมีการนิเทศและติดตามผลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและผู้บริหารควรสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และผู้บริหารควรมีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ปัญหานักเรียนen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการศึกษาen_US
dc.subjectระบบการดูแลช่วยเหลือen_US
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.subjectสมุทรสาครen_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleสภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาครen_US
dc.title.alternativeStudents Watchful System in Secondary Schools under Samutsakorn Educational Service Area Officeen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก742.74 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ390.44 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.28 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ533.95 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ3.06 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 16.37 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 241.77 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 34.52 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 431.97 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 516.84 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม2.01 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก12.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.