Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1135
Title: คติความเชื่อและรูปแบบบัวในสถาปัตยกรรมไทย
Other Titles: Beliefs and Lotus Patterns in Thai Architecture
Authors: สมศักดิ์, จำปาขาว
Champakao, Somsak
Keywords: สถาปัตยกรรมไทย (ภาคเหนือ)
ความเชื่อ
บัว
วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาคติความเชื่อ และรูปแบบบัวในสถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวกับศาสนา เอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องราวของดอกบัวเอกสารที่เกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ รวมทั้งการหาข้อมูลภาคสนามและการถ่ายภาพสถานที่จริงประกอบ นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ แล้วทำการวิเคราะห์วิจัยให้ได้ผลสรุปของการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางเอาไว้ จากการศึกษาพบว่า คติความเชื่อเรื่องบัวในพุทธศาสนาลัทธิหินยาน ลัทธิมหายาน และศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ยังคงได้รับการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในรูปแบบบัวเป็นเครื่องรองรับ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญทางศาสนา ซึ่งคติความเชื่อก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์รูปแบบบัวที่เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมมากมาย รูปแบบบัว ถูกนำมาใช้เป็นฐานรองรับ และเป็นองค์ประกอบสำคัญทางสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยศาสนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการคัดเลือกรูปแบบที่จะนำมาใช้เป็นองค์ประกอบ และมีการพัฒนารูปแบบเป็นระยะไปตามยุคสมัย และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม ฐานบัว พบว่า ฐานสิงห์เป็นฐานบัวที่นิยมใช้เป็นฐานระเบียง ฐานอาคารพระอุโบสถและพระวิหารมากที่สุดรองลงไปได้แก่ ฐานสิงห์ลูกแก้วอกไก่ ฐานปัทม์ ฐานลูกแก้วอกไก่ ฐานบัวคว่ำและฐานรูปแบบอื่นๆตามลำดับ ซึ่งฐานบัวแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันที่ รูปแบบ ขนาดจำนวนเส้นลวดบัว ส่วนประกอบต่างๆของฐานบัว และการนำไปใช้ บัวหัวเสา พบว่าบัวหัวเสาแบบกลีบยาว เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุดตั้งแต่อยุธยาตอนปลาย จนเข้าสู่รัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 1-2 ครั้นถึงช่วงรัชกาลที่ 3-4 เป็นระยะที่ศิลปะจีนและยุโรปเข้ามามีบทบาทมากทำให้บัวหัวเสาขาดความนิยมไประยะหนึ่ง ช่วงรัชกาลที่ 5-ปัจจุบัน บัวหัวเสาถูกกลับนำมาใช้อีกแต่มีวิวัฒนาการทางรูปแบบที่เปลี่ยนไป บัวองค์ประกอบพระเจดีย์และพระปรางค์ พบว่าเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมและพระปรางค์ นิยมสร้างในช่วงรัชกาลที่ 1 จนถึงปลายรัชกาลที่ 3 จากนั้นก็มีเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงกลมเข้ามาแทนที่โดยที่เจดีย์เหลี่ยมย่อมุม เจดีย์ทรงระฆังและพระปรางค์ คงมีรูปแบบที่สืบทอดมาจากอยุธยาตอนปลาย และมีบัวเป็นองค์ประกอบตั้งแต่ส่วนฐานจนถึงส่วนยอดซึ่งทั้งพระเจดีย์เหลี่ยม พระปรางค์และพระเจดีย์ทรงระฆัง ระยะต่อมาถูกลดความสำคัญลงเป็นปรางค์ราย เจดีย์รายเช่นเดียวกันและไม่ค่อยนิยมสร้างในปัจจุบัน ข้อเสนอแนะควรทำวิจัยในทำนองเดียวกันแต่ควรทำการศึกษาถึงวัดที่สร้างโดยประชาชน เพื่อจะได้หาข้อแตกต่างทั้งด้านคติความเชื่อ และรูปแบบของบัวองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทย
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1135
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก674.35 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ386.1 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ2.04 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ403.07 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ5.02 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.72 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 245.58 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 379.95 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 434.08 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 59.76 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.