Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1485
Title: การจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการเพื่อสืบสานวัฒนธรรมทางดนตรีไทยฝั่งธนบุรี: กรณีศึกษาบ้านพาทยโกศล
Other Titles: Knowledge Management of Thai classical music culture tradition in Thonburi : A Case Study of Ban Partayakosol
Authors: วินัยธร, วิชัยดิษฐ์
Wichaidit, Winaithorn
จิตณรงค์, เอี่ยมสำอางค์
Iamsamang, Chitnarong
Keywords: การจัดการองค์ความรู้
การบริหารจัดการ
วัฒนธรรมทางดนตรีไทย
ธนบุรี
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน แนวการบริหารจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมดนตรีไทยฝั่งธนบุรี : กรณีศึกษาบ้านพาทยโกศล ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) แบบแผนการบุกเบิก (Exploratory Design) กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกผู้บริหารวงดนตรี จำนวน 2 คน สมาชิกวงดนตรี 25 คน กลุ่มนักวิชาการ นักศึกษา และชุมชน ซึ่งเป็นผู้อาสาสมัคร จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความถูกต้อง เหมาะสม ขององค์ความรู้ที่จัดรวบรวมเป็นสารสนเทศในรูปแบบของวีดีทัศน์โดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความของเหมาะสมของสารสนเทศการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบวีดีทัศน์โดยผู้ใช้ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา การสรุปเชิงอุปมาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของแหล่งวัฒนธรรมดนตรีไทยบ้านพาทยโกศลผลการวิจัย พบว่า วงดนตรีไทยบ้านพาทยโกศลได้เริ่มต้มจากการเป็นวงดนตรีไทยบ้านหลังวัดกัลยาณมิตร วงดนตรีไทยวังบางขุนพรหม วงดนตรีไทยพาทยโกศล ซึ่งเป็นวงดนตรีเดียวกันแต่ได้เปลี่ยนชื่อวงไปตามยุคสมัย จากวงชาวบ้านที่รับงานบรรเลงดนตรีเป็นอาชีพหลักเลี้ยงตนเอง เปลี่ยนเป็นวงดนตรีไทยสังกัดวังสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โดยใช้ชื่อวงว่า“วงวังบางขุนพรหม”และต่อมาเป็นการบรรเลงดนตรีในนามวังสวนผักกาด ของ กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต จนกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นวงดนตรีไทยชาวบ้านในนาม“วงพาทยโกศล” ที่ยังตั้งอยู่ฝั่งธนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยมีทายาทสืบทอดเป็นรุ่นที่ 8 2. ผลการศึกษาแนวการบริหารจัดการเพื่อสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีไทยฝั่งธนบุรีบ้านพาทยโกศลซึ่งผลการวิจัย พบว่าแนวทางการบริหารจัดการส่วนใหญ่เน้นความเป็นศิลป์ตามวิถีศิลปินซึ่งการดำเนินการของวงเป็นไปตามกระบวนการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน(Planning) ด้านการจัดองค์การ (Organizing) ด้านการนำ (Leading) และด้านการควบคุม(Controlling)ผลจากการบริหารจัดการนั้นมิได้มุ่งเพื่อสร้างผลกำไรหรือการประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจแต่มุ่งสร้างสรรค์ผลงานทางการดนตรีที่ทรงคุณค่าและเป็นการอนุรักษ์สืบสานให้วงดนตรีไทยบ้านพาทยโกศลยังคงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป 3. ผลจากการการตรวจสอบประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญและตรวจสอบประสิทธิผลโดยกลุ่มผู้ศึกษาสื่อซึ่งผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมการจัดการองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นความถูกต้องและเหมาะสมโดยมีค่าคะแนน IOC เท่ากับ 1.00 ทุกประเด็น และผลการประเมินความเหมาะสมของสารสนเทศการจัดการองค์ความรู้ในรูปแบบวีดีทัศน์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.60 S.D. = 0.39)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1485
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก107.03 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ491.31 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ93 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ282.71 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1468.22 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.43 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3456.96 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 42.42 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5505.6 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม269.72 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.