Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1493
Title: การศึกษารวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นและแนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Data Gathering and Fact Finding about Indigenous Knowledge as well as Creating Guidelines for Developing Participatory Learning Centers for Communities of Muang Samutprakan
Authors: กริช, ภัทรภาคิน
Phattaraphakin, Kris
ณัฐวัฒน์, ฐิตวัฒนา
Titawattana, Nattawat
Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ศูนย์การเรียนรู้
การมีส่วนร่วม
การวิจัย
สมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสมุทรปราการ จำนวน 3 คน 2) ประธานคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 18 คน 3) ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ จำนวน 10 คน 4) ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 29 คน และ 5) ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอุดมศึกษาและนักวิชาการอิสระ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับศึกษารวบรวมข้อมูลบริบทของชุมชน 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับศึกษารวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 3) แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มี 41 ผลิตภัณฑ์/ผลงาน ของผู้ทรงภูมิปัญญา 29 คน แบ่งเป็น 4 สาขา คือ 1) คหกรรม ได้แก่ อาหาร ขนม และเครื่องดื่ม 2) สาขาศิลปกรรม ได้แก่ หัตถกรรมและงานประดิษฐ์ 3) สาขาสาธารณสุข ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรธรรมชาติ และ 4) สาขาการเกษตรกรรม ภูมิปัญญาแต่ละผลิตภัณฑ์/ผลงาน มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) ประวัติผู้ทรงภูมิปัญญา 2) กระบวนการเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ 3) การถ่ายทอดประสบการณ์/ภูมิปัญญา 4) ลักษณะผลิตภัณฑ์/ผลงาน และขั้นตอนการผลิต/การดำเนินการ 2. แนวทางการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมชองชุมชนในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ แบ่งเป็น 5 ด้านหลัก คือ 1) ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก 2) ด้านวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนและการถ่ายทอดภูมิปัญญา 4) ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ และ 4) ด้านงบประมาณสนับสนุนและการบริหารจัดการ
URI: http://hdl.handle.net/123456789/1493
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก249.05 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ692 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ151.83 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ298.52 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1533.25 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.3 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3232.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4711.93 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5586.88 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม570.7 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก29.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.