Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1497
Title: การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Strategic Management on Public Service Provision Administration of Local Administrative Organizations in Samut Prakan Province
Authors: พงษ์พัต, วัฒนพงศ์ศิริ
Wattanapongsir, Pongpat
สุรีย์พร, สลับสี
Salapsri, Sureeporn
Keywords: การบริหาร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สมุทรปราการ
การบริการสาธารณะ
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2019
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการ นโยบาย และกลยุทธ์ในการบริหารการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดทำบริการสาธารณะขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรปราการ 3) เพื่อสร้างข้อเสนอในเชิงนโยบายและกลยุทธ์ในการพัฒนาการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรณีศึกษา จำนวน 500 คน และวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นายก อบต. จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยรวบรวม คัดเลือก และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ากรณีศึกษาทั้ง 5 แห่ง ใช้เครื่องมือ SWOT Analysis ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า จุดแข็ง (Strength) คือ มีโครงสร้างองค์การอย่างชัดเจน ส่วนจุดอ่อน (Weaknesses) คือ การขาดการประสานงานที่ดีก่อให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน ในส่วน โอกาส (Opportunity) มีสถานที่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนและ อบต. มีรายได้สูง และ อุปสรรค (Threat) คือแนวโน้มการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลทั่วประเทศ และแนวโน้มการควบรวม 2) การกำหนดกลยุทธ์ โดยนำจุดแข็งและโอกาสขององค์การมาทำการวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) พันธกิจ (mission) และเป้าประสงค์ตามลำดับ จะคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาคไปสู่ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบล 3) การนำไปปฏิบัติ มีแผนงาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงรายละเอียดแผนงาน/โครงการพัฒนาและกิจกรรมที่ดำเนินการจริงทั้งหมดในพื้นที่ และเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ ให้ความชัดเจนในการปฏิบัติและมีการประสานและบูรณาการการทำงานเกี่ยวกับหน่วยงานอื่น ๆ 4) การติดตามและประเมินผลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การติดตามและประเมินผลยุทธ์ศาสตร์ การติดตามประเมินผลโครงการ และสรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในภาพรวม โดยท้องถิ่นเป็นผู้ประเมินตนเอง ทั้งนี้ในส่วนของประชาชนมีความพึงพอใจต่อองค์การบริหารส่วนตำบล อยู่ในระดับมาก (Xˉ=3.57) เมื่อพิจารณาเป็นราย อบต. พบว่า ประชาชนมีความพอใจต่อการจัดทำบริการสาธารณะของอบต.เทพารักษ์มากที่สุด (Xˉ=3.72) รองลงมาคือ อบต.บางปลา (Xˉ=3.61) อบต.แพรกษาใหม่ (Xˉ=3.53) อบต.บางเสาธง (Xˉ=3.50) และอบต.บางโฉลง (Xˉ=3.49) และมีข้อเสนอยุทธศาสตร์หลัก 2 ข้อ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ การบริหารงานภาครัฐแบบประสานความร่วมมือ 2) ยุทธศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สู่ระบบราชการ 4.0
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1497
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก66.1 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ131.35 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ51.44 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ107.7 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1204.39 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.04 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3213.07 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.02 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5290.65 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม161.2 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.