Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1503
Title: การเปิดรับข่าวสาร ความตระหนัก และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออมเงินของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The media exposure, awareness, and behavior related to money saving ofundergraduate students in Bangkok
Authors: กมลศักดิ์, วงศ์ศรีแก้ว
Wongsrikaew, Kamolsak
Keywords: การออมเงิน
พฤติกรรมการออมเงิน
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
งานวิจัย
Issue Date: 2019
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ความตระหนัก และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออมเงินของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตนักศึกษา จำนวน 400 คนที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในกรุงเทพมหานครรวมถึงวิทยาเขตที่อยู่ในเขตปริมณฑล จาก 87 สาขาวิชา 38 คณะใน 13 มหาวิทยาลัย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่มี อายุระหว่าง 18-24 ปี มีรายรับเฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 9163.75 บาทและมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 7687.12 บาท และมีเงินออมเฉลี่ยอยู่ที่ 8315.75 บาทต่อคน โดยที่แหล่งที่มาของรายรับประมาณร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างมาจาก พ่อ/แม่/บุคคลในครอบครัว/ผู้อุปการะ เพียงทางเดียว และอีกร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างมีรายรับจาก พ่อ/แม่/บุคคลในครอบครัว/ผู้อุปการะ รวมกับการทำงานพิเศษ ในขณะที่ด้านการเปิดรับข่าวสารด้านการออมหรือการลงทุนจากสื่อต่าง ๆ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความถี่ในการเปิดรับในระดับนาน ๆ ครั้ง เกือบทุกสื่อยกเว้นสื่อประเภท พ่อ แม่ ญาติพี่น้องในครอบครัวที่มีความถี่ของการเปิดรับสื่อในระดับบ่อย ในส่วนของความตระหนักที่มีต่อการออมนั้นพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเห็นด้วยกับประเด็นการออมในระดับมาก เกือบทุกประเด็นยกเว้นในเรื่องของ “การวางแผนในการใช้จ่ายเงินและออมเงินเป็นเรื่องที่ท่านสามารถปฏิบัติได้ยาก” ที่ควรจะเห็นด้วยในระดับน้อย แต่กลับพบว่าระดับความเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ด้านพฤติกรรมการออมเงินพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่คิดวางแผนทางด้านการเงินแล้ว โดยการออมเงินส่วนใหญ่เกิดในรูปของการฝากธนาคารและเก็บเป็นเงินสดไว้ที่ตัวเอง นอกจากนั้นยังพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างเกือบ ร้อยละ 30 ที่ยังไม่ได้วางแผนใด ๆเกี่ยวกับการออมเลย ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีการออมแล้วนั้นส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์ในการออมเงินเพื่อซื้อของที่ตัวเองต้องการ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน เจ็บป่วย และเพื่อใช้ในการท่องเที่ยว
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1503
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก77.05 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ99.98 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ77.74 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1144.34 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2526.59 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3165.09 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4576.92 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5139.11 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม139.29 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก193.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.