Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1575
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนฤมล, ปภัสสรานนท์-
dc.contributor.authorPapatsaranon, Naruemon-
dc.contributor.authorสุเทพ, อ่วมเจริญ-
dc.contributor.authorUamcharoen, Sutep-
dc.date.accessioned2019-09-13T07:03:27Z-
dc.date.available2019-09-13T07:03:27Z-
dc.date.issued2018-01-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1575-
dc.identifier.urihttps://research.dru.ac.th/o-journal/index.php?url=abstract.php&abs_id=455&jn_id=28en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบความรู้ก่อน-หลัง ของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู 2.2) ศึกษาความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และ 2.3) ศึกษาความสามารถในการปฏิบัติตามแผนการจัดการเรียนรู้ 3) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย คือ นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี กลุ่มที่ 6 จากจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 6 กลุ่ม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการเขียนแผนการเรียนรู้ และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติตามแผนการเรียนรู้ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta มีประสิทธิภาพของรูปแบบตามเกณฑ์ 75/75 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 73.58 / 79.63 2) ประสิทธิผลของรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition ได้แก่ 2.1) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2.2)นักศึกษามีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้ในระดับสูง 2.3)นักศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ได้ในระดับสูง 3) ความคิดเห็นของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครูที่มีต่อรูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition โดยภาพรวมเห็นด้วยในระดับมากที่สุดen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project.en_US
dc.subjectการพัฒนารูปแบบ DRUen_US
dc.subjectวิชาชีพครูen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบ DRU เพื่อส่งเสริม Meta Cognition สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครูen_US
dc.title.alternativeThe Development of DRU Model to Enhance Meta Cognition for Post Graduate Diploma Students in Teaching Professionen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.