Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/16
Title: แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของหน่วยกู้ชีพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Guidelines for Developing the Working Efficiency of the Village Health Volunteer of the Emergency Medical Service Unit, Somdetchareon Subdistrict, Nongprue District, Kanchanaburi Province
Authors: กันตพงศ์, โมฬี
Molee, Kantaphong
Keywords: ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศึกษา แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพ อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ตำบลสมเด็จเจริญ 3) เปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติงานและแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสมเด็จเจริญ ระหว่างกลุ่มอาสาสมัครของหน่วยกู้ชีพ กับกลุ่มประชาชนผู้เคยรับบริการหรือเคยเห็นการปฏิบัติงานของหน่วย กู้ชีพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและสมาชิกของหน่วยกู้ชีพ 34 คน และ ประชาชนผู้เคยรับบริการหรือ เคยเห็นการปฏิบัติงานของหน่วยกู้ชีพ 364 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ประกอบการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาในการปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสมเด็จเจริญ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับน้อยเช่นเดียวกัน โดยด้านการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนด้านการให้บริการมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ การแพทย์ฉุกเฉินโดยภาพรวมมีความเร่งด่วนในการพัฒนาอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แนวทางการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน มีความเร่งด่วนในการพัฒนาอยู่ในระดับน้อยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดีด้านการบริหาร จัดการมีค่าเฉลี่ยความเร่งด่วนในการพัฒนาสูงที่สุด 3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มอาสาสมัคร ของหน่วยกู้ชีพกับกลุ่มประชาชน พบว่า กลุ่มประชาชนมีความคิดเห็นต่อปัญหาในการปฏิบัติงานและความ เร่งด่วนของการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเป็นค่าเฉลี่ยที่สูงกว่ากลุ่มอาสาสมัคร อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.01 สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม ที่ผู้ร่วมสนทนาเสนอให้แก้ไขปัญหาด้าน การบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/16
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก142.23 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ2.51 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ92.37 kBAdobe PDFView/Open
Acknowleagements.pdfกิตติกรรมประกาศ84.52 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdf..pdfสารบัญ96.2 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 19.76 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 264.02 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 315.6 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 530.78 MBAdobe PDFView/Open
unit 6.pdfบทที่ 613.47 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 438.79 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม137.58 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdf.pdfภาคผนวก47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.