Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1632
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภูมิ, สายรัตน์-
dc.contributor.authorSairat, Poom-
dc.contributor.authorสุรีพร, อนุศาสนนันท์-
dc.contributor.authorAnusasananan, Sureeporn-
dc.contributor.authorสมพงษ์, ปั้นหุ่น-
dc.contributor.authorPanhoon, Sompong-
dc.contributor.authorภัฐธีร์ตา, วัฒนประดิษฐ์-
dc.contributor.authorWattanabandit, Psttheetha-
dc.date.accessioned2020-05-22T04:35:58Z-
dc.date.available2020-05-22T04:35:58Z-
dc.date.issued2019-07-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1632-
dc.identifier.urihttps://research.dru.ac.th/o-journal/index.php?url=abstract.php&abs_id=596&jn_id=31en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัด ได้แก่ ความยาก อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรงตามเนื้อหา ความตรงตามสภาพ เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยและประเมินผลการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ของแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2561 จำนวน 132 โรงเรียน จำนวน 2,465 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 จำนวน 100 คนสำหรับการทดลองครั้งที่ 1 เพื่อตรวจสอบคุณภาพหาความยาก อำนาจจำแนก และความเที่ยงของแบบวัด กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 จำนวน 150 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด ด้านความตรงเชิงสภาพ ความยาก อำนาจจำแนก และความเที่ยงของแบบวัด และกลุ่มตัวอย่างที่ 3 จำนวน 400 คน เป็นกลุ่มที่เป็นส่วนในการสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยและประเมินผลการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ รวมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทั้งหมด 650 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ ได้เป็นข้อสอบอัตนัย แบบสถานการณ์ จำนวน 12 ข้อภายใต้ 5 สถานการณ์ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ พบว่า แบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ มีค่าความยากและอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.36 - 0.63 และ 0.43 - 0.77 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดีทั้งฉบับ แบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหาทุกข้อ โดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 - 1.00 แบบวัดมีความตรงเชิงสภาพ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เท่ากับ 0.89 แบบวัดมีความเที่ยงอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.96 และมีความเที่ยงระหว่างผู้ตรวจให้คะแนนสูง โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ให้คะแนน เท่ากับ 0.95 3) ผลการสร้างเกณฑ์ปกติวิสัย (Norm) ของคะแนน แบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าคะแนนดิบอยู่ในช่วงตั้งแต่ 2-28 และคะแนนที (t) ปกติ อยู่ในช่วงตั้งแต่ 22 - 75 คะแนน ผลการประเมินการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ของแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนที่มีการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ำมาก มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 4.25 นักเรียนที่มีการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ มีจำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 22.25 นักเรียนที่มีการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง มีจำนวน 164 คน คิดเป็นร้อยละ 41.00 นักเรียนที่มีการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับสูง มีจำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 26.75 นักเรียนที่มีการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับสูงมาก มีจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 5.75en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project.en_US
dc.subjectการสร้างแบบวัดen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการสร้างแบบวัดการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6en_US
dc.title.alternativeA Construction of Mathematical Literacy Test for Grade 6 Studentsen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.