Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1660
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุชีลา, ศักดิ์เทวิน-
dc.contributor.authorSaktewin, Suchila-
dc.contributor.authorธุวพล, คงน้อย-
dc.contributor.authorKongnoi, Thuwapol-
dc.date.accessioned2020-10-28T08:23:19Z-
dc.date.available2020-10-28T08:23:19Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.citationการประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6en_US
dc.identifier.urihttps://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1660-
dc.description.abstractการศึกษาลำดับขั้นตอน องค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) บุคลากรขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 2) ผู้นำกลุ่ม องค์กร ชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และ 3) นักวิชาการผู้นำชุมชน ประชาชนในชุมชนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ สัมภาษณ์ และประชุมสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ลำดับขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การรวมคน ผู้นำหรือแกนนำ มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการระดมเงินลงทุน และมีการแบ่งงานกันตามหน้าที่ 2) ร่วมคิด การรับฟังความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ ร่วมตัดสินใจ สร้างความเข้าใจร่วมกัน ร่วมวิเคราะห์ปัญหา กำหนดแนวทาง แผนงานในการแก้ปัญหาและประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 3) ร่วมดำเนินการ สมาชิก ในกลุ่มได้รับมอบหมายตามหน้าที่ของตนเอง ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำหน้าที่ของตนเองให้คนอื่นได้รับทราบด้วย มีประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงาน 4) ร่วมสรุปบทเรียน เพื่อสร้าง พลังปัญญา ทำให้เกิดการเชื่อมต่อและนำไปสู่การพัฒนา รวมทั้งบทเรียนภายในชุมชนและนอกชุมชน 5) ร่วมรับผลประโยชน์ ที่เป็นค่าตอบแทน และผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ค่าตอบแทนองค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ภายในชุมชน ได้แก่ ผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกในกลุ่มการถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิก ปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาจัดอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม 2) ภายนอกชุมชน ได้แก่ การศึกษาดูงานกลุ่มอื่นๆ การอบรมกับหน่วยงานภายนอก การค้นคว้าข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามาเรียนรู้กับกลุ่มปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นำ สมาชิก และ ชุมชน 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเข้ามามีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และสถาบันการศึกษา 3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในชุมชนมีทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการผลิตหรือการทำกิจกรรมของกลุ่ม โดยการนำทรัพยากรมาใช้ได้อย่างสูงสุด อาจเกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น หรือจากสมาชิกสู่สมาชิก ซึ่งเป็นการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาสร้างรายได้ให้กับกลุ่มหรือชุมชนen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherการประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6en_US
dc.subjectกระบวนการเรียนรู้en_US
dc.subjectสมุทรปราการen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งในจังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.title.alternativeCommunity Learning Process that Strengthens Community in Samut Prakan Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Other University บทความมหาวิทยาลัยอื่น

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Community Learning Process that Strengthens Community in Samut Prakan Province.pdfบทความ617.23 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.