Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1664
Title: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา โดยการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิค
Other Titles: The Development of Self-Efficacy of Counselor Teachers through Assimilative Integrative Group Counseling
Authors: วาสนา, พวยอ้วน
Phuai-Oun, Wasana
Keywords: ครูปรึกษา
การปรึกษากลุ่ม
ทฤษฎีและเทคนิค
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: Jan-2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยได้พัฒนาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและพัฒนาแบบวัดการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูทีปรึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ภาคตะวันออก จำนวน 400 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอนจากครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส ภาคตะวันออก ระยะที่ 2 การพัฒนาและศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่ปรึกษาที่มีคะแนนการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอนแล้วตามความสมัครใจได้จำนวน 24 คน สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่ม เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 คน เครื่องมือในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษาจำนวน 29 ข้อ ที่พัฒนาในระยะที่ 1 และโปรแกรมการปรึกษากลุ่ม เชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา เก็บข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปร ภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีทดสอบแบบนิวแมนคูลส์ ผลการวิจัย พบว่า แบบวัดการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา การเป็นครูที่ปรึกษาฯ ที่ดีต้องมี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การรับรู้การมีส่วนร่วมตัดสินใจในโรงเรียน 2. การรับรู้การมีส่วนร่วมการดำเนินงานทรัพยากรของโรงเรียน 3. การรับรู้พฤติกรรมการสอน 4. การรับรู้การส่งเสริมวินัยในนักเรียน 5. การรับรู้การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง 6. การรับรู้การมีส่วนร่วมของชุมชน และ 7. การรับรู้การมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ดีในโรงเรียน ส่วนผลของพัฒนาโปรแกรมและศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคต่อการรับรู้ความสามารถแห่งตนของครูที่ปรึกษา พบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ครูที่ปรึกษาที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1664
https://o-journal.dru.ac.th//index.php?url=abstract.php&abs_id=643&jn_id=32
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Article 4.pdfArticle513.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.